top of page

กลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิต (Cost reduction strategy)

#กลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิต #Costreduction #กลยุทธ์ #การลดต้นทุนการผลิต #กลยุทธ์การลดต้นทุน


การลดต้นทุนในกระบวนการผลิต นอกจากจะลดต้นทุนได้ด้วยวิธีการตัดลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นต่างๆ แล้ว เรายังสามารถทำการลดต้นทุน โดยการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น การลดต้นทุนในส่วนของการปรับปรุงการ ทำงานนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ทั้ง แรงกายและพลังงานสมองควบคู่กันไป คือ เราจำเป็นต้องใช้ความพยายามอย่างมาก และ ในการดำเนินการก็จะต้องใช้ความคิดด้วย อาจต้องลองผิดลองถูกซ้ำแล้ว ซ้ำอีก จึงทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าลําบากยากเย็น ซึ่งเป็นความจริงเฉพาะระยะเริ่มต้นเท่านั้น แต่เมื่อสามารถทำให้เข้ารูปเข้ารอยแล้ว และเมื่อการลดต้นทุนมีผลคืบหน้า การ ทำงานก็จะสบายขึ้นเรื่อยๆ เมื่อการลดต้นทุนทำให้งานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์อื่นๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมาด้วย


หลักสูตร กลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิต จะส่งเสริมทักษะ ความรู้ และเครื่องมือคุณภาพที่จะสร้างผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการทำงาน ที่สามารถลดต้นทุน ปัญหาที่เคยเกี่ยวพันกันอย่างสลับซับซ้อนก็จะคลายหลุดออกมา ซึ่งจะทำให้เราสามารถมองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น


ต้นทุน (Cost) คืออะไร

ต้นทุน คือ มูลค่าของเงิน หรือทรัพยากรที่ใช้ไป และสูญเสียไปในกระบวนการผลิต หรือการให้บริการ และไม่สามารถจะนำกลับมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก การมองต้นทุน ในแต่ละองค์กรจะมีต้นทุนที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ลักษณะของการประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งจะต้องเข้าใจและสามารถจำแนกได


หัวใจสำคัญของการควบคุมต้นทุนการผลิต

การลดต้นทุน คือ การเพิ่มกำไรโดยขจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น หรือ ต้นทุนแฝงที่อยู่ในกระบวนการทำงาน (ผลิต หรือ บริการ)


ทำไมจึงต้องมีการลด และควบคุมต้นทุน


ปัจจัยภายใน

  • ค่าแรงที่สูงขึ้นรวมถึงวัตถุดิบ และวัสดุต่างๆ

  • ต้องการผลกำไรมากขึ้น

  • ของเสียที่เกิดขึ้นมีมากขึ้น

  • ใช้เวลาในการทำงานมากขึ้น

  • ฯลฯ

ปัจจัยภายนอก

  • คู่แข่งทางการตลาดมีมากขึ้น และมี การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น

  • ลูกค้ามีความคาดหวังมากขึ้น

  • ลูกค้ามีความไม่พึงพอใจสูงขึ้น

  • ลูกค้าต้องการลดต้นทุน

  • ฯลฯ

ต้นทุนจากความสูญเสีย คืออะไร

" สิ่งไหนที่ไม่ได้ทำให้เกิดมูลค่า (Value)นั่นคือ ความสูญเสีย "

ถ้าหากจะพูดถึงประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ ความสามารถในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้ อย่างคุ้มค่า มากน้อยเพียงใด โดยนำผลผลิตที่ได้ไม่หารด้วยปัจจัยนำเข้าเปอร์เซ็นต์ยิ่งสูง นั่นแสดงว่ากระบวนการผลิตสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามาก ดังนั้นกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพดี ก็จะสามารถสร้างมูลค่าหรือกำไรได้มากยิ่งขึ้น เพราะนั่นหมายความว่าต้นทุนในการผลิตต่ำ เกิดการสูญเสียน้อย ในตำราญี่ปุ่น เรียกการสูญเสีย ว่า 3MU



ต้นเหตุแห่งความสูญเสีย (3MU)

  • MUDA การสูญเปล่าความสูญเสียด้านสมรรถนะ (Capacity > Load)

  • MURA การสูญเสียเนื่องจากความไม่สม่ำเสมอ ความคลาดเคลื่อน (Capacity > or < Load)

  • MURI การฝืนทำสิ่งต่าง ๆ หรือการทำอะไรไม่สมเหตุผล (Capacity < Load)


ความสูญเสียทั้ง 7 ประการ

  1. ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป (Over Production)

  2. ความสูญเสียจากการขนส่ง (Transportation)

  3. ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting Time)

  4. ความสูญเสียจากสินค้าคงคลัง (Inventory)

  5. ความสูญเสียจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects)

  6. ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion)

  7. ความสูญเสียจากกระบวนการมากเกินไป (Over-processing)

ดู 4,404 ครั้ง

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page