การตรวจติดตามคุณภาพภายใน ISO9001:2015
#การตรวจติดตามคุณภาพภายในISO
การตรวจติดตามคุณภาพภายใน ISO9001:2015
“การตรวจติดตามคุณภาพภายใน” เป็นมาตรฐาน ISO 9001:2015 ที่ใช้ในการบริหารจัดการ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าการดำเนินกิจกรรมขององค์การมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบบริหารจัดการคุณภาพตามข้อกำหนดหรือไม่ รวมถึงองค์การที่จัดทำระบบอยู่แล้ว
ต้องการทบทวนมาตรฐานการดำเนินเพื่อให้มั่นใจว่ายังคงปฏิบัติตามข้อกำหนดและการประยุกต์ใช้ระบบคุณภาพ ISO 9001 : 2015 ตามมาตรฐาน ซึ่งการตรวจติดตามคุณภาพภายในเป็นการตรวจสอบทบทวนระบบ พบข้อบกพร่องในเรื่องใดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุงให้ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานต่อไป หากพบสิ่งบกพร่องหรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและการประยุกต์ใช้ระบบคุณภาพ ISO 9001 : 2015ต้องจัดทำเป็นรายงานสิ่งที่พบและลงมือปฏิบัติการแก้ไขเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์คุณภาพให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามกรอบนโยบายคุณภาพที่กำหนด
วัตถุประสงค์ของการตรวจติดตามภายใน
วัตถุประสงค์ของการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
เป็นข้อกำหนดในระบบบริหารคุณภาพองค์กรจะต้องจัดให้มีการตรวจติดตามภายในตามแผนที่วางไว้
ตรวจสอบความสอดคล้องต่อข้อกำหนดต่าง ๆ ขององค์กรสำหรับระบบการจัดการด้านคุณภาพเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
ตรวจสอบความสอดคล้องต่อข้อกำหนดมาตรฐานสากลฉบับนี้เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
คำจำกัดความของการตรวจติดตาม" Audit "
"กระบวนการที่เป็นระบบดำเนินไปอย่างอิสระ และจัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อรวบรวมหลักฐานการตรวจประเมินที่เป็นรูปธรรมและประเมินไปตามหลักฐานที่นำมาอ้างอิงเพื่อตัดสินว่าได้ทำการตรวจประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้ว"
ประเด็นสำคัญของการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
เป็นระบบ
เป็นอิสระ
เป็นลายลักษณ์อักษร
รวบรวมหลักฐานรูปธรรม
ประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด
การเตรียมการตรวจติดตาม
การเตรียมการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
มอบหมายผู้ตรวจติดตาม
รวบรวมข้อมูล
ทบทวนเอกสาร
เตรียมใบรายการ ตรวจติดตาม
เตรียมตาราง การตรวจติดตาม
ขั้นตอนการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
การวางแผน
การเตรียมการ
การดําเนินการ
การรายงานผลและ การปิดการตรวจประเมิน
กำหนดทีมผู้ตรวจติดตาม
ทีมผู้ตรวจต้อง มีคุณสมบัติครบถ้วน เช่น ผ่านการฝึกอบรมการตรวจประเมิน
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ตรวจ ต้องไม่ตรวจงานที่ตนรับผิดชอบอยู่และมีความยุติธรรม
ทีมผู้ตรวจ ต้อง มีความรู้เฉพาะทาง เช่น รู้ในเครื่องที่จะตรวจในเรื่องที่จะตรวจพอสมควร
กำหนดการตรวจติดตาม
กำหนดการตรวจติดตามคุณภาพภายในควรต้องครอบคลมถึง
วันที่และระยะเวลาของการตรวจประเมิน
ขอบเขต
บริเวณ/กิจกรรม/ข้อกำหนดที่ต้องได้รับการตรวจประเมิน
ชื่อของเจ้าหน้าที่ตรวจประเมินและทีมถึงบทบาทที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินตรวจติดตาม
สิ่งที่ควรปฏิบัติ และไม่ควรปฎิบัติในการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
สิ่งที่ควรปฏิบัติในการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
ควรถามพนักงานผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
ตรวจสอบโดยให้เป็นไปตาม Check List
บันทึกให้ชัดเจนและสอบกลับได้
สงบและควบคุมจิตใจให้ดี
มองหาความจริง อย่าถูกหลอกได้ง่าย
เลือกสุ่มตรวจอย่างสุขุม และฉลาด
แจ้งความไม่สอดคล้องทุกครั้งที่พบปัญหา
หากคุณผิดก็ยอมรับผิดอย่าตรงไปตรงมา
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติในการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
ควรรักษาเวลา และไม่ใช้เวลาผิดแผน
อย่าสอนงานผู้ถูกตรวจ Auditee
อย่าให้คำแนะนำเพราะอาจไม่รู้จริง
อย่าวิจารณ์ฝ่ายบริหาร
อย่าเปรียบเทียบการทำงาน
อย่ายืดเยื้อจุดใดนานเกินไป
อย่าจ้องจับผิด
อย่าด่วนตัดสินใจ
การดำเนินการตรวจติดตาม
การบันทึกหลักฐานที่พบ พยายามบันทึกให้ละเอียด เช่น
ระบุ ชื่อผู้ที่ให้ข้อมูล
ระบุ ข้อมูลที่ได้รับ
ระบุ ถึง ฉบับที่ของเอกสารที่ตรวจพบ
ระบุ หมายเลขเฉพาะรุ่น (Serial Number)
ระบุ ว่าสุ่มออกมาจากจำนวนเท่าใด
ระบุ ตำแหน่งที่เก็บ
ระบุ เวลา สถานที่
ระบุ สภาพแวดล้อมที่มีผล
การบันทึกหลักฐานที่พบทุกครั้งที่พบความไม่สอดคล้องต้องแจ้งให้ผู้ถูกตรวจติดตาม (Auditee) ทราบและยอมรับในความไม่สอดคล้องนั้นก่อน เพื่อไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งเมื่อมีการบันทึกลงในใบขอให้แก้ไข (ใบ CAR) ภายหลังบางครั้งอาจถ่ายเอกสารหลักฐานที่พบแนบไว้ด้วยจะช่วยให้เข้าใจตรงกันเมื่อมีการพูดถึงในภายหลัง
ISO 9001 : 2015 กับประโยชน์ต่อองค์กร
ลูกค้าได้ประโยชน์โดยได้รับสินค้าและบริการ
สอดคล้องกับความต้องการและข้อกำหนดตามกฎหมายและกฎระเบียบ
สม่ำเสมอ และสามารถคาดเดาได้
โอกาสที่จะช่วยเพิ่ม ความพึงพอใจของลูกค้า
ประโยชน์สำหรับคนที่อยู่ในองค์กร
มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงาน
ผู้จัดการมีส่วนร่วมกำกับและสนับสนุน นำไปสู่ระบบบริหารคุณภาพ
มีความรับผิดชอบที่ชัดเจน
การสื่อสารที่ดีขึ้น
มีความเข้าใจและการควบคุมกระบวนการที่ดีขององค์กร
มีการกำหนดและสร้างความสามารถ
Comments