top of page

การปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่องด้วย kaizen

#การปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง #kaizen #ผลผลิต #การเพิ่มผลผลิต #productivity


การปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่องด้วย kaizen


หลักสูตรฝึกอบรม การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (KAIZEN) ไคเซ็น จึงเป็นเหมือนเข็มทิศชี้ให้องค์กรเห็นถึงว่า ทำไมต้องไคเซ็น และการเพิ่มประสิทธิผล ประสิทธิภาพในการผลิต แนวทางในการแก้ไขปัญหา พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงาน เพื่อหยุด ลด และเปลี่ยนแปลง วิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เพราะไคเซ็นจะบอกให้ท่านรู้ว่ายังคงมี “เรื่องที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ” อยู่อีหมากในกระบวนการทำงานในองค์กรของท่าน

หลักสูตร การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (KAIZEN) เกี่ยวกับ หลักการขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเป็นแนวพัฒนากิจกรรมการทำไคเซ็นภายในบริษัท


Kaizen คืออะไร

การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • Kai แปลว่า การเปลี่ยนแปลง (Change)

  • Zen แปลว่า ดี (Good)

เพราะฉะนั้นไคเซนจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (KAIZEN) ก็คือการทำงานให้น้อยลงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมุ่งเน้นลดขั้นตอนการทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานให้สูงขึ้น


Kaizen คืออะไร

Kaizen คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยทุกคนมีส่วนร่วม


หมายถึง การทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมทีละเล็กทีละน้อย เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (KAIZEN) โดยใช้เทคนิคไม่ซับซ้อน ทุกคนสามารถทำได้ โดยแน้นหลักการ เลิก ลดเปลี่ยน


1. Easy ง่าย สะดวก รวดเร็ว เน้นการปรับปรุงง่ายๆ เห็นผลรวดเร็ว


2. Economy ประหยัด แน้นการปรับปรุงที่ไม่ต้องลงทุนหรือ ใช้จ่ายสูง


3. Every Time ทำได้ตลอดเวลา เป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องเดียวกันสามารถปรับปรุง ได้หลายๆครั้ง หรือ ปรับปรุงต่อยอดจากของเดิมไม่มีที่สิ้นสุด


4. Every Level ทุกคนในองค์กร และทุกระดับสามารถที่จะปรับปรุงได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะหาอุปสรรคในการทำงาน และ ปรับปรุงเพื่อให้การทำงานง่ายขึ้นสะดวกขึ้น


5. Every Process ทำได้ทุกกระบวนการ บางองค์กรแน้นทำที่ผลิต แต่จริงๆแล้วสามารถทำได้ทุกแผนก ทั้งหน่วยงานผลิต และหน่วยงานสนับสนุน


6. Efficiency การทำการปรับปรุงจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ให้เพิ่มขึ้น ประหยัดต้นทุน และทรัพยากร


7. Effective การทำการปรับปรุงจะทำให้เพิ่มประสิทธิผลการทำงาน ทำให้ของเสียลดลง ส่งมอบทันและเวลา เพิ่มความพึ่งพอใจของลูกค้า


ความสัมพันธ์ของการบริหารงาน


ความจำเป็นในการเพิ่มผลผลิต


จุดประสงค์ที่ทำ Kaizen

  1. ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กร

  2. เพิ่มศักยภาพของพนักงานรู้จักคิดแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง

  3. ส่งเสริมให้การสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น


วงจร PDCA

ไคเซ็น เป็นวิธีการคิดแบบเชิงระบบ

กิจกรรมไคเซ็น (Kaizen) จะดำเนินตามแนวทางวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) มีดังนี้


1) P-Plan

ในช่วงของการวางแผนจะมีการศึกษาปัญหาพื้นที่หรือกระบวนการที่ต้องการปรับ ปรุงและจัดทำมาตรวัดสำคัญ (Key Metrics) สำหรับติดตามวัดผล เช่น รอบเวลา (Cycle Time) เวลาการหยุดเครื่อง (Downtime) เวลาการตั้งเครื่อง อัตราการเกิดของเสีย


2) D-Do

ในช่วงนี้จะมีการนำผลลัพธ์หรือแนวทางในช่วงของการวางแผนมาใช้ดำเนินการ สำหรับ Kaizen Events ภายในช่วงเวลาอันสั้นโดยมีผลกระทบต่อเวลาทำงานน้อยที่สุด (Minimal Disruption) ซึ่งอาจใช้เวลาหลังเลิกงานหรือช่วงของวันหยุด


3) C-Check

โดยใช้มาตรวัดที่จัดทำขึ้นสำหรับติดตามวัดผลการดำเนินกิจกรรมตามวิธีการใหม่ (New Method) เพื่อเปรียบวัดประสิทธิผลกับแนวทางเดิม หากผลลัพธ์จากแนวทางใหม่ ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมาย ทางทีมงานอาจพิจารณาแนวทางเดิมหรือดำเนินการค้นหาแนวทางปรับปรุงต่อไป


4) A-Act

โดยนำข้อมูลที่วัดผลและประเมินในช่วงของการตรวจสอบเพื่อใช้สำหรับดำเนินการปรับแก้ (Corrective Action) ด้วยทีมงานไคเซ็น ซึ่งมีผู้บริหารให้การสนับสนุน เพื่อมุ่งบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการในช่วงของการดำเนินกิจกรรมไคเซ็นหรือ กิจกรรมการปรับปรุง (Kaizen Event) ทางทีมงานปรับปรุงจะมุ่งค้นหาสาเหตุต้นตอของความสูญเปล่าและใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เพื่อขจัดความสูญเปล่า โดยมีการทำงานร่วมกับทีมงานข้ามสายงานอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 3-10 วัน และมีการติดตาม(Follow Up) ผลลัพธ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายใน 30 วัน หลังจากดำเนินกิจกรรมการปรับปรุง (Kaizen Event) รวมทั้งมีการจัดทำมาตรฐานกระบวนการ (Process Standardization)




ดู 7,171 ครั้ง

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page