top of page

การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ Problem Solving and Decision Making

#การแก้ไขปัญหา #การตัดสินใจ


การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ Problem Solving and Decision Making

การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ อย่างมีประสิทธิผล เป็นทักษะที่สำคัญประการหนึ่งในการบริหารงาน เพราะในการปฏิบัติงานไม่ว่าในตำแหน่งหน้าที่ใด จำเป็นต้องเผชิญกับปัญหาและสภาวการณ์ที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา การแก้ปัญหาและการตัดสินใจจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่เป็นระบบเริ่มตั้งแต่การ กำหนดปัญหา การแยกแยะและค้นหาสาเหตุ การตั้งเป้าหมายเพื่อดำเนินการแก้ไขและการตั้งมาตรฐาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเกิดซ้ำ ทั้งนี้การปฏิบัติงานย่อมต้องพบกับปัญหาในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องได้รับการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงและดำเนินการแก้ไข จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาต้องมีขั้นตอนที่เป็นระบบอย่างชัดเจน และรวดเร็วในการตัดสินใจ ตั้งแต่การระบุปัญหา การเก็บรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล จนถึงการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง สำหรับ การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจจึงเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในการพิจารณาทางเลือกที่ให้ประโยชน์สูงสุดและส่งผลกระทบน้อยที่สุด โดยเฉพาะการตัดสินใจในภาวะฉุกเฉิน หรือเร่งด่วน ที่ถูกจากัดด้วยกรอบของเวลา



การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ

การนำอริยสัจ 4 เปรียบเทียบกับการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจเชิงวิทยาศาสตร์


  • ทุกข์ (real problem) - ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร

  • สมุทัย (root cause) - สาเหตุที่ของปัญหามาจากไหน

  • นิโรธ (right solution) - ทางออกของปัญหาคืออะไร

  • มรรค (rich execution) - วิธีปฏิบัติในการแก้ปัญหา ต้องทำอย่างไร


กระบวนการตัดสินใจ (Decision Making Process)

กระบวนการตัดสินใจจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ปัญหา


การค้นหารากเหงาของปัญหา

หลักคิดสำคัญการร่วมด้วยช่วยกันในการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงอย่างสมานฉันท์

คือ “การวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริง(Root Cause) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหรือปรากฎการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น (Effect) ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน โดยไม่เกิดสภาพการณ์ตกหล่น และซ้ำซ้อน และไม่จินตนาการเอง”



เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาสาเหตุของปัญหา

เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาสาเหตุของปัญหาตัวอย่าง


เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาด้วย (5G)

  • Genba สถานที่ / หน้างาน จริง

  • Genbutsu .. สิ่งของ/ ชิ้นงานที่เป็นตัวปัญหาจริง

  • Genjitsu สถานการณ์จริง

  • Genri ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จริง

  • Gensoku เงื่อนไขประกอบที่เกี่ยวข้อง จริง

  • เทคนิคการประยุกต์ใช้เครื่องมือ 5G กับ 5 Why

hy

why-why Analysis คืออะไร

why-why Analysis เป็นเทคนิคการวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดปรากฏการอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน ไม่เกิดการตกหล่น ซึ่งไม่ใช่การคิดแบบคาดเดาหรือนั่งเทียน



8D Problem Solving


กระบวนการของ 8D

"8D" หมายถึง 8 วินัย (Disciplines) หรือ 8 ขั้นตอน(steps) ในการแก้ปัญหา "วินัย (Disciplines)" หมายถึง ชุดของข้อ ขั้นตอนระเบียบปฏิบัติ (อ้างอิงมาตรฐาน) สิ่งสำคัญ คือ ต้องระบุประเด็นสำคัญในแต่ละระเบียบวินัย ในขั้นตอนระเบียบปฏิบัติ 8D สามารถช่วยใช้ บริษัทฯ บรรลุความพึงพอใจของลูกค้า เมื่อเราใช้วิธีแก้ปัญหา 8D อย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันปัญหาจากการเกิดซ้ำ ดั้งนั้นเราสามารถตอบสนองความมุ่งมั่นของเราให้กับลูกค้า


ผังก้างปลา (Cause & Effect Diagram)

เป็นแผนพังที่แสดงสมมติฐานของความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลาย ๆ สาเหตุ ที่ส่งผลต่อปัญหาหนึ่งปัญหา

ดู 11,706 ครั้ง

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page