คิดบวก ผลงานบวก Positive Thinking for Work
ไม่ว่าจะในโลกแห่งการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น คนแต่ละคนก็จะมีวิธีการมองปัญหา และหาวิธีแก้ไขที่แตกต่างกันไป บางคนมองปัญหาเป็นอุปสรรค ที่ไม่จบสิ้น ในขณะที่บางคนกลับมองมันเป็นเกมที่สนุก และท้าทายความสามารถ ซึ่งสิ่งที่ทำให้แต่ละคน มองต่างกันไปก็คือเรื่องของความคิดนั่นเอง ความคิดทางบวกจะเป็นพลังที่ขับเคลื่อนเราไปสู่การมีทัศนคติที่ดี ซึ่งวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างความคิดทางบวกให้กับเรา จะช่วยพัฒนาความคิดในแง่ดีให้กับเราได้ ความคิดบวกหรือความคิดที่ดี จุดเริ่มต้นที่ตนเอง จะขยายสู่บุคคลรอบข้าง ทีมงานให้เกิดขึ้นจากความคิดเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ ส่งผลต่อความร่วมมือ มุ่งสู่เป้าหมาย นำมาซึ่งความสำเร็จของงานและทีมในลำดับต่อไป
การคิดเชิงบวก (positive thinking) หมายถึง วิธีที่คนเราใช้ในการมองสถานการณ์ต่าง ๆ และการ
ค้นหาสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในสถานการณ์นั้น การคิดเชิงบวกจะเกี่ยวข้องกับ เจตคติที่อยู่ภายในจิตใจ (mental attitude) ที่คนเรายอมให้เข้าไป แทรกซึม อยู่ในความคิด คำพูด และจินตนาการต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเจริญเติบโต ความก้าวหน้า และความสำเร็จของตนเอง เจตคติจึงเป็นตัวคาดหวังที่ทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ตามที่ตนต้องการ อย่างเช่น คนที่มีเจตคติในทางบวกจะคาดหวังถึงความสุข ความสนุกสนานรื่นเริง การมีสุขภาพที่ดี รวมทั้งคาดหวังถึงผล
เจตคติที่อยู่ในใจ
เจตคติที่อยู่ในใจนี้ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาอันเป็นผลที่เกิดจากการ
ได้รับอิทธิพลของ 3 Es นั่นก็คือ :
Environment ซึ่งได้แก่ สภาพทางบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน อิทธิพลจากสื่อมวลชน การนับถือศาสนา สภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง รวมทั้ง ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อซึ่งทำให้แต่ละคน มีภูมิหลัง และพื้นฐานของชีวิตที่แตกต่างกัน
Experience หมายถึง ประสบการณ์ด้านบวกหรือด้านลบที่คนเรามีต่อผู้อื่น ถ้าเราเคยมีประสบการณ์ที่ดี (ด้านบวก) กับผู้ใด เราก็จะมีเจตคติที่ดีต่อผู้นั้นด้วย
Education หมายถึง การศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบที่ช่วยทำให้คนเรา มีความเฉลียวฉลาด มีคุณธรรม ศีลธรรม มีจิตสำนึกที่ดีงาม สามารถนำพาชีวิตของตนเอง ไปสู่ความสำเร็จได้
การทํางาน คือการปฎิบัติธรรม : ความสุขจากการทํางาน
การทํางาน คือการปฎิบัติธรรม: ความสุขจากการทํางาน •
อิทธิบาท 4 ธรรมะทีใช้ในการทํางาน
ฉันทะ : ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
วิริยะ : ขยันหมั่นเพียรกับงานที่มี
จิตตะ : เอาใจใส่รับผิดชอบกับงานที่ทำ
วิมังสา : การพินิจพิเคราะห์ และใช้ปัญญาตรวจสอบงาน
ทำไมต้องคิดเพื่อความสำเร็จ
เพื่อสร้างพลังใจในชีวิต
ดำรงอยู่อย่างมีความสุข
ทัศนคติที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น
มุมมองทุกด้านอย่างทรงพลัง
มองทุกปัญหาอย่างเป็นระบบ
มองทุกมิติอย่างสร้างสรรค์
ตารางเปรียบเทียบมุมมองด้านลบและด้านบวก
มองมุมลบ (Negative Thinking)
- น่าเบื่อมากๆ
- เกิดขึ้นอีกแล้วหรือเนี่ย
- ทำไมถึงต้องเป็นเราในการแก้ไขปัญหานี้?
- ทำไม่มีใครมาช่วยเราแก้ไขปัญหานี้บ้าง?
- ปัญหาเก่ายังไม่หาย ปัญหาใหม่เข้ามาอีกแล้ว?
- จะแก้ไขปัญหาได้ไหมเนี้ย?
- ไม่อยากอยู่แล้วปัญหามากจริง ๆ ลาออกดีกว่า
มองในมุมบวก (Positive Thinking)
- เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ
- ทุกปัญหามีทางออกเสมอ เราทำได้
- สนุกดี มีอะไรให้ทำอีกแล้ว
- ได้ค้นหา ศึกษา ทดลองอะไรใหม่ ๆ
- ได้มีโอกาสพบเพื่อนร่วมงานใหม่ ๆ (กรณีปัญหาที่ต้องอาศัย ความร่วมมือจากต่างแผนก)
- ได้รู้จักวิธีการระดมสมอง (Brain Storming) และเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม
ความสุขของคนเรา
เป้าหมายที่มีความหมาย สิ่งนั้นมีคุณค่ามีความหมายมากกว่าตัวเราเอง เราสร้างให้เกิดขึ้นด้วยตัวเราเอง เช่น นอกเหนือ จากจะไปเล่นสนุกแล้ว จะทำอะไรอีก นอกจากตัวเราเอง คือ เป้าหมายเพื่อคนอื่น แล้วจะดี เพราะกว้างมากขึ้น จะค้นพบความหมายที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต
SWOT Analysis
คือ การวิเคราะห์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานให้บรรลุ วิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือเป้าประสงค์ขององค์กรมี 4 องค์ประกอบ คือ
- S (Strength) คือ การวิเคราะห์จุดแข็งขององค์กร ว่ามีอะไรเป็นจุดแข็งหรือได้เปรียบ
- W (Weakness) คือ การวิเคราะห์ จุดอ่อน หรือ จุดด้อยขององค์กร
- 0 (Opportunity) คือ โอกาสที่จะทำให้สำเร็จได้
- T (Threat) คือ อุปสรรคที่อาจจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้สำเร็จ
Comentarios