top of page

5 ส และ Kaizen เพื่อพัฒนาองค์กร

#5ส #Kaizen #เพื่อพัฒนาองค์กร


5 ส และ Kaizen เพื่อพัฒนาองค์กร

ปัจจุบันมีการแข่งขันเชิงธุรกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจัยหนึ่งในการที่จะส่งเสริมเรื่องการบริหารและการ ส่งเสริมผลการดําเนินงาน คือ การนําเครื่องมือทรงประสิทธิภาพมาใช้ และ เครื่องมือพื้นฐานขององค์กรที่สําคัญ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือ 5ส และ Kaizen เพราะ 5ส เป็นฐานของระบบการบริหารและการผลิต ทั้งหมด และ Kaizen เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงพัฒนางาน อย่างต่อเนื่อง อันจะเป็นสิ่งส่งเสริม ในการบริหาร และการสร้างเครื่องมือ 5 ส และ Kaizen เพื่อพัฒนาองค์กร ที่ทรงประสิทธิภาพในการพัฒนาและบริหารธุรกิจ อย่างประสบความสําเร็จขององค์กร ต่อไป


5ส ประกอบไปด้วย อะไรบ้าง

5ส คืออะไร

5ส คือ กิจกรรมที่สร้างวินัยให้เกิดขึ้นและนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ และผลิตภาพ


5ส ประกอบไปด้วย

  • สะสาง Seiri

สะสาง Seiri (เซริ) (ทำให้เป็นระเบียบ) คือ การแยกระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทิ้งไป

  • สะดวก Seiton (เซตง)

สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบใช้งานได้ทันที

  • สะอาด Seiso (เซโซ)

สะอาด (ทำความสะอาด) คือการปัดกวาดเช็ดถูสถานที่ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ

  • สุขลักษณะ Seiketsu (เซเคทซึ)

สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด) คือ การรักษาและปฏิบัติ 3ส ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป

  • สร้างนิสัย Shitsuke (ซึทซึเคะ)

สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษาและปฏิบัติ4ส หรือสิ่งที่ กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย


5ส กับวงจร PDCA

PDCA : Deming Cycle กับ หลักการ 5ส

  • P = Planningวางแผน

  • D = Doing ดำเนินการ

  • C = Checking ตรวจสอบ

  • A = Action กำหนดมาตรฐาน


วัตถุประสงค์ของ 5ส

วัตถุประสงค์ของ 5ส

  1. เพิ่มผลผลิตตามที่ลูกค้าต้องการ

  2. ผลิตสินค้า /บริการ มีคุณภาพ รากาถูก ส่งมอบรวดเร็ว มีความปลอดภัยในการทำงาน

  3. สร้างความคิดริเริ่มของพนักงาน และเกิดความร่วมมือ

  4. เสริมสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร

  5. เสริมสร้างขวัญ และกำลังใจให้กับพนักงาน


สรุปกิจกรรม 5ส

  • 5 ส. เป็นเรื่องเพิ่มผลผลิต และคุณภาพ

  • 5 ส. เป็นรากแก้ว และเป็นพื้นฐานของระบบคุณภาพ และผลผลิต

  • 5 ส. นำไปสู่เรื่อง ระบบการจัดการ และมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ระบบ ISO


KAIZEN คืออะไร


Kaizen

  • มาจากภาษาญี่ปุ่น คำว่าไค แปลว่าเปลี่ยนแปลง เซ็น แปลว่าดี เมื่อแปลรวมกันได้ความหมายคือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น


จุดมุ่งหมายของไคเซ็น คือ

จุดมุ่งหมายของไคเซ็น คือ การทำงานด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว ประหยัด ปลอดภัย สบาย และสนุก หรือเรียกอีกอย่างว่า คือการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยนำ 3M (คน เครื่องจักร วัตถุดิบ) ซึ่งเป็นทรัพยากรทางการบริหารมาใช้ในงานอย่างมีประสิทธิภาพ


หลักการ 3M (คน เครื่องจักร วัตถุดิบ)

1. ทรัพยากรมนุษย์ (Man) คือ คนงาน พนักงาน หรือผู้ปฎิบัติงานทั้งหมด เพราะ การผลิตหรือดำเนินการใด ๆ จะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคน ทั้งในดานความคิด การวางแผน การดำเนินการต่าง ๆ หรือจัดการ ทำให้เกิดการผลิต หรือกิจกรรมทางธุรกิจ ทุกรูปแบบ การพัฒนาคนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ


2. วัสดุ (Material) คือ มีส่วนนำมาใช้ในการผลิตสินค้า หรือบริการ เพราะ ทุกธุรกิจต้องอาศัย สิ่งที่ได้ในกลุ่มนี้มาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิต ดังนั้น ต้องรู้จักบริหารจัดการ วัตถุดิบ ให้มีประสิทธิภาพสามารถมีเพียงพอในการผลิต บริหารจัดการให้ได้ต้นทุนที่ต่ำ ในการผลิต และทำให้ธุรกิจได้ผลกำไรสูงสุด


3. เครื่องจักร (Machine) คือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการผลิตหากขาดเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ อาจไม่สามารถทำการผลิตได้ในปริมาณที่มาก หากขาดเครื่องมือ เครื่องจักรมาช่วย เพราะปัจจัยในกลุ่มนี้ จะเป็นส่วนที่มาช่วยเติมเต็ม ในส่วนที่ความสามารถของมนุษย์ ไม่สามารถทำได้ เช่น ระยะเวลาทำงานที่ต่อเนื่อง ความถูกต้องแม่นยำ ความเร็วในการผลิต ความสม่ำเสมอที่เป็นมาตรฐาน หรือความทนทาน ในบางสถาณการณ์ ที่มนุษย์ทำไม่ได้ เช่น สภาพอากาศในที่อุณหภูมิสูง หรือต่ำ สภาพแวดล้อมอากาศที่มี ก๊าซพิษ เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นว่าหลายครั้งที่ความสำเร็จในการผลิตจะตัดสินได้จากปัจจัยในกลุ่มนี้ หรือกล่าวได้ว่าใช้ปัจจัยในกลุ่มนี้เป็นตัวที่ใช้ชี้ขาดความสำเร็จของงานได้เลย


ประโยชน์ของการทำไคเซ็น

ประโยชน์ของการทำไคเซ็น

  • การสนับสนุนให้เกิด "การใช้ความคิด" ไม่ใช่ "การตรากตรำทำงาน"

  • มุ่งที่จะ ลด / เลิก ภาระที่ไม่จำเป็น เปลี่ยนไปสู่วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่า


หลักการทำไคเซ็น 3 ขั้นตอน

1. ไคเซ็น คือสิ่งที่ทำเพื่อตนเอง

2. การบีบคอตนเอง ย่อมไม่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง

3. ดังนั้น การบีบคอตนเอง ย่อมไม่ใช่ไคเซ็น


ดู 9,138 ครั้ง

Commentaires


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page