top of page

การบริหารแรงงานสัมพันธ์อย่างไรให้สอดคล้องกับสไตล์ญี่ปุ่น Employee Relations Management with Japanese

การบริหารแรงงานสัมพันธ์อย่างไรให้สอดคล้องกับสไตล์ญี่ปุ่น

Employee Relations Management with Japanese Styles



การบริหารแรงงานสัมพันธ์สไตล์ญี่ปุ่น



การบริหารแรงงานสัมพันธ์ อย่างไรจะให้เป็นมืออาชีพและเป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าจะโลกแห่งการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น คนแต่ละคน ก็จะมีวิธีการมองปัญหา และหาวิธีแก้ไขที่แตกต่างกันไป บางคนมองปัญหาเป็นอุปสรรคที่ไม่จบสิ้น ในขณะที่บางคนกลับมองมันเป็นเกมที่สนุกและท้าทายความสามารถ ซึ่งสิ่งที่ทำให้แต่ละคนมองต่างกันไป ก็คือเรื่องของความคิดนั่นเอง ความคิดทางบวก จะเป็นพลังที่ขับเคลื่อนเราไปสู่การมีทัศนคติที่ดี ซึ่งวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างความคิดทางบวก ให้กับเรา จะช่วยพัฒนาความคิดในแง่ดีให้กับเราได้ ความคิดบวก หรือความคิดที่ดี จุดเริ่มต้นที่ตนเอง จะขยายสู่บุคคลรอบข้าง ทีมงานให้เกิดขึ้นจากความคิดเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ ส่งผลต่อความร่วมมือ มุ่งสู่เป้าหมาย นำมาซึ่งความสำเร็จของงาน และทีมในลำดับต่อไป


หลักสูตร การบริหารแรงงานสัมพันธ์อย่างไรให้สอดคล้องกับสไตล์ญี่ปุ่น มีตอบคำถาม ที่สามารถพัฒนาความรู้ ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น และให้เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงการบริหารแรงงานสัมพันธ์อย่างไร ไม่ให้เกิดปัญหา และเป็นการบริหารแรงงาน แบบยั่งยืน และเป็นธรรม เกี่ยวเนื่องกับการบริหารแรงงานสัมพันธ์แบบมีแบบแผน วัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นในองค์กร หรือ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



แรงงานสัมพันธ์


แรงงานสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนความคิด และหลักการที่เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้าง

ลูกจ้าง และรัฐ โดยศึกษา เพื่อทราบถึงบทบาท ระบบที่เหมาะสม รวมทั้งแสวงหา วิธีการที่จะทําให้นายจ้าง และลูกจ้างสามารถทํางานร่วมกัน ด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ ต่างได้รับประโยชน์อัน เป็นที่พอใจร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสุขในอุตสาหกรรม (INDUSTRIAL PEACE) และเสริมสร้างความเจริญ ทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นสําคัญ



ทําไมจึงต้องมี แรงงานสัมพันธ์


ทําไมจึงต้องมี แรงงานสัมพันธ์

  • ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

  • เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการผลิต

  • เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

  • เกิดความสงบสุขในสถานประกอบการ

  • เกิดความเป็นธรรมในสถานประกอบการ

  • มีความจงรักภักดีต่อองค์กร

  • ผลดีต่อเศรษฐกิจของชาติ

  • สร้างบรรยากาศทีjดีต่อการลงทุน

  • ภาพพจน์ที่ดีต่อประเทศชาติ



ลักษณะ แรงงานสัมพันธ์ และการพัฒนาสหภาพแรงงานของญี่ปุ่น

ลักษณะแรงงานส้มพันธ์ : ระบบการจ้างงาน

ญี่ปุ่น เป็นประเทศทางตะวันออก ประเทศแรก ที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาประเทศ และสามารถเปลี่ยนฐานะเป็นสังคมอุตสาหกรรม ได้อย่างรวดเร็ว หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในจะเดียวกันญี่ปุ่น ก็ได้พัฒนาลักษณะพิเศษ ในความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้างขึ้นมาด้วย ลักษณะพิเศษนี้มีรากฐาน และพัฒนาการตามลักษณะมนุษยสัมพันธ์ และสภาพการณ์ในสังคมญี่ปุ่น ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้างที่พิเศษเด่น ๆ มีดังนี้

  1. ระบบการจ้างงานตลอดชีวิต (Life-time employment system Abegglen, 1973, pp. 62-74)

  2. ลูกจ้างชั่วคราว (Temporary employees)

  3. ระบบค่าจ้างตามอาวุโส (Senioritybased wage system)

  4. สหภาพแรงงานบริษัท (Enterprise unionism)

  5. การฝึกงาน และสวัสดิการในบริษัท

แรงงานส้มพันธ์โดยทั่วไป

พื้นฐานด้าน แรงงานสัมพันธ์


แรงงานสัมพันธ์

  • แก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

  • รักษาความเป็นธรรมของสังคม และเศรษฐกิจ

  • เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการผลิต

  • เพิ่มคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง

  • สร้างบรรยากาศของการลงทุน


แรงงานสัมพันธ์แบบญี่ปุ่น


แรงงานสัมพันธ์แบบญี่ปุ่น ความเชื่อถือซึ่งกันและกัน แนวคิดพื้นฐานในการสร้างความเชื่อถือเชื่อมั่น

ระหว่างพนักงาน และบริษัท ได้แก่ การที่พนักงานได้ตระหนัก หรือรับรู้ว่า ชีวิต ความเป็นอยู่ ของพนักงานได้มีรับการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น โดยผ่านการเจริญเติบโตของบริษัท และจุดมุ่งหมาย เพื่อความเจริญ เติบโตของบริษัทเป็นค่านิยมร่วมกัน


ผู้บริหารจะต้องพยายาม อย่างเต็มที่ในการสร้างความมั่นคง ด้านการจ้างแรงงาน การปรับปรุงพัฒนาสภาพการจ้างให้ดีขึ้น ขณะเดียวกัน พนักงานทุกคนก็ต้องพยายามอย่างเต็มที่ และต่อเนื่องในการให้ความร่วมมือ กับบริษัท เพื่อสร้างความเจริญเติบโตรุ่งเรือง ให้เกิดขึ้นกับบริษัท



ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของกันและกันให้ดี

บริษัท (ผู้บริหาร)

  • พยายามให้บริษัทเจริญเติบโต อย่างยั่งยืนและมั่นคง

  • บริหารจัดการงานบุคคล เลื่อนตําแหน่ง อื่นๆ เพื่อความเหมาะสม

  • ให้การอบรม สร้างสถานที่ทํางานให้ปลอดภัย


สหภาพ

  • พยายามทํากิจกรรมต่าง ๆ เพือรักษามาตรฐานค่าครองชีพของสมาชิก หรือปปรับปรุงให้ดีขึ้น

  • ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ดีดีขึ้น เช่น สวัสดิการ ค่าจ้าง โดยผ่านการเจรจาต่อรองอย่างสมเหตุสมผล


แรงงานสัมพันธ์สมานฉันท์


บริษัทต้องรับผิดชอบ ในการพัฒนาปรับปรุง เงื่อนไขในการทํางาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เงื่อนไขในการทํางานต่าง ๆ นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่ กับการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงของบริษัท


บริษัทเจริญเติบโต

โดยความร่วมมือจากสหภาพแรงงาน

  • ทํางานแบบอัตโนมัติ

  • ปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัย

  • เพิ่มความสามารถในการทํางาน

  • กิจกรรมกลุ่มต่าง ๆ (Kaizen, QCC)

การเจริญเติบโตของบริษัท

ปรับปรุงเงื่อนไขการทํางานต่าง ๆ

โดยการเจรจาต่อรองกับสหภาพแรงงาน

ความเข้าใจและความเชื่อใจซึ่งกันและกัน

  • บริษัทยอมรับสหภาพแรงงานในฐานะหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน

  • ความยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งจําเป็น



ดู 328 ครั้ง

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page