การปรับปรุงและเขียนข้อบังคับให้สอดคล้องกับการทำงาน
#การปรับปรุงและเขียนข้อบังคับให้สอดคล้องกับการทำงาน #เขียนข้อบังคับ #ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน #ข้อบังคับ
การปรับปรุงและเขียนข้อบังคับให้สอดคล้องกับการทำงาน
ข้อบังคับการทำงาน มีความสำคัญอย่างมาก ในการบริหารงานบุคคล ในองค์การให้อยู่ และทำงานร่วมกันอย่างสงบสุข และเป็นไปตามระเบียบ เรียบร้อย บรรลุผลตามเป้าหมาย ซึ่งข้อบังคับการทำงานกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้บุคลากรในองค์การทุกระดับยึดถือนำไปปฏิบัติ ในแนวทางเดียวกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และ ฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ จะต้องทำความเข้าใจ ให้ถ่องแท้ก่อนการจัดทำ เพราะบริบทในการจัดทำข้อบังคับการทำงานต้องสอดคล้องกับ พรบ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับประกาศใช้ในปัจจุบัน สิ่งสำคัญอะไรบ้าง ที่ควรระบุไว้ในข้อบังคับ หรือ แก้ไขข้อบังคับฯ ส่วนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์สูงสุด
ในการทำให้เกิดสิทธิทางการบริหาร และถูกต้องบังคับใช้ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานฉบับปัจจุบัน
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดมาตรการสำหรับนายจ้างที่จะต้องปฏิบัติเอาไว้ 4 ประการหลัก ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนายจ้างจะต้องดำเนินในเรื่อง ดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดทำข้อบังคับ ในการทำงานตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนด
2. จัดทำทะเบียนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขกฎหมาย คุ้มครองแรงงานกำหนด
3. จัดทำเอกสารการจ่ายค่าจ้าง ฯลฯ ให้กับลูกจ้าง
4. รายงานแบบแสดงสภาพการจ้าง และสภาพการทำงานต่อทางราชการ โดยการดำเนินการ
ตามข้อ 1 – 4 ข้างต้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ
การจัดทำข้อบังคับ
"มาตรา 108 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้าง รวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นภาษาไทย และข้อบังคับ นั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด เกี่ยวกับรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
(๒) วันหยุด และหลักเกณฑ์การหยุด
(๓) หลักเกณฑ์การทำงาน ล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
(๔) วัน และสถานที่ จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน ในวันหยุด และค่าล่วงเวลา ในวันหยุด
(๕) วันล าและหลักเกณฑ์การลา
(๖) วินัย และโทษทางวินัย
(๗) การร้องทุกข์
(๘) การเลิกจ้าง ค่าซดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
ข้อควรพิจารณา
เขียนรายละเอียด ให้เพียงพอ ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติทุกฝ่ายเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง
นายจ้างอาจเขียนข้อกำหนดต่าง ๆ ให้สอดคล้อง และเหมาะสม กับประเภทของกิจการ นายจ้าง
นอกเหนือจาก 8 ข้อที่กฎหมายกำหนด นายจ้างอาจกำหนด นโยบาย ระเบียบ แนวปฏิบัติ เรื่องอื่น ๆ ไว้ในข้อบังคับ ด้วยก็ได้ เพื่อเป็นผลดี ต่อการบริหารงานบุคคล
ข้อควรระวัง
กรณี ที่บริษัทมีสวัสดิการ นอกเหนือจากกฎหมายกำหนด และเป็นสวัสดิการ ที่นายจ้างจัดให้ ไม่ควรเขียน ใส่ไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เพราะ จะเกิดความยุ่งยาก ในการแก้ไขในภายหลัง หรือหากจะใส่ไว้ในข้อบังคับการทำงาน ควรระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด
เมื่อร่างข้อบังคับการทำงาน เสร็จแล้ว ควรนำข้อบังคับเข้าที่ประชุมกับฝ่ายต่างๆ เช่น ตัวแทนสหภาพแรงงาน, คณะกรรมการสวัสดิการ หรือ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังความคิดเห็น สร้างความเข้าใจ และพึงพอใจกันทั้งสองฝ่าย ในอนาคต หากมีแก้ไขเปลี่ยนแปลงก็อาจจะทำได้ง่ายขึ้น
ให้นายจ้างประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ให้นายจ้าง ประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้าง รวมกันตั้งแต่ 10 ขึ้นไป และให้นายจ้าง จัดเก็บสำเนาข้อบังคับนั้นไว้ ณ สถานประกอบกิจการ หรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา
ให้นายจ้างเผยแพร่ และปิดประกาศ
ให้นายจ้างเผยแพร่ และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง หรือเพิ่มเติมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยก็ได้ เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบ และเข้าถึงได้
โดยสะดวก"
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนายจ้างต้องปิดประกาศภายใน 7 วันนับแต่วันประกาศใช้หรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างต้องส่งสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั้นภายใน 7 วันนับแต่วันประกาศใช้ ณ กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดท้องที่ที่สถานประกอบกิจการของนายจ้างตั้งอยู่
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการมีสำนักงานสาขาโรงงาน หน่วยงานหลายแห่ง และใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับเดียวกัน ให้ส่งสำเนา ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ต่อหน่วยราชการดังกล่าว ซึ่งอยู่ในท้องที่ที่หน่วยงานแต่ละแห่ง ของนายจ้างตั้งอยู่ หรือส่งสำเนาข้อบังคับฯ ของสำนักงานสาขาโรงงาน หน่วยงานทั้งหมดต่อหน่วยงานราชการดังกล่าว ซึ่งอยู่ในท้องที่ ที่สำนักงานแห่งใหญ่ของนายจ้างตั้งอยู่ในคราวเดียวกันก็ได้
การเก็บสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การเก็บสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั้น ให้เก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการแต่ละแห่ง
ในกรณีที่จำนวนลูกจ้างลดลงต่ำกว่า 10 คน
ในกรณีที่จำนวนลูกจ้างลดลงต่ำกว่า 10 คน ให้ใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ได้ประกาศใช้แล้วต่อไป
การไม่จัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การไม่จัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือการไม่แก้ไข ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามคำสั่งของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี มอบหมายเป็นความผิด มาตรา 146 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
*มาตรา 146 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 15 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง มาตรา 45 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 65 มาตรา 66 มาตรา 73 มาตรา 74 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง มาตรา 77 มาตรา 99 มาตรา 108 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 113 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 117 หรือไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 121 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 139 (2) หรือ (3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
การจัดทำข้อบังคับมีหลักเกณฑ์อย่างไร
การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย สิทธิ หน้าที่ แนวปฏิบัติ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
การจัดทำข้อบังคับมีหลักเกณฑ์ ต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้
ต้องเป็นภาษาไทย
ต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
ต้องจัดเก็บสำเนาข้อบังคับไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา
ต้องเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบและดูได้โดยสะดวก
หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องประกาศภายใน 7 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานอย่างน้อยให้ครบ 8 ข้อตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนด
Comments