การสร้างผลกำไรจากภายในองค์กรและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ด้วยหลักการ Kaizen
การสร้างผลกำไรจากภายในองค์กรและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ด้วยหลักการ Kaizen ความสำคัญในกระบวนการของ Kaizen คือ การใช้ความรู้ความสามารถของพนักงานมาคิดปรับปรุงงาน โดยใช้การลงทุนเพียงเล็กน้อยซึ่งก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ละเล็กที่ละน้อยที่ค่อย ๆ เพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นสิ่งที่กำหนดอนาคตของการเจริญเติบโต และยั่งยืนของบริษัท เพราะถ้าบริษัทใดมีพนักงานที่มีจิตสํานึกคุณภาพและการปรับปรุงงานอยู่ตลอดเวลา สินค้าหรือบริการที่ได้นั้นก็จะมีคุณภาพดี ตรงตามความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer Need and Satisfactions)
จุดประสงค์ที่ทำไคเซ็น
ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานของตนเองด้วยตนเองเพื่อตนเองและองค์กธ
โดยเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้รู้จักคิดแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
ส่งเสริมให้การสื่อสารและความสัมพันธ์ ระหว่างเพื่อนร่วมงานได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น
แนวคิด KAIZEN
จากง่าย ๆ ไปหายาก
ทีละนิด ไม่หยุด
เน้นจาก ล่างขึ้นบน
ทำง่าย แต่คิดเยอะ
ทำต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ
"ความจริง 4 หลัก 5 ในการปรับปรุงงาน"
ความจริง 4 คือ ทำสิ่งใดอยู่บน...
ความจริงที่ 1 ข้อมูลจริง
ความจริงที่ 2 ของจริง
ความจริงที่ 3 สถานที่จริง
ความจริงที่ 4 สภาพจริง
แนวทางการดำเนินกิจกรรม KAIZEN
มองหาความสูญเสียต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวและยอมรับว่ามีปัญหา
ตระหนักว่ามีความไม่ปกติเกิดขึ้นแล้ว
หาจุดที่ควรปรับปรุงโดยการวิเคราะห์ขั้นตอนเพื่อตรวจดูการไหลของการทำงาน
หาแนวทางการปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต
ประโยชน์ของ KAIZEN
ประโยชน์ส่วนพนักงาน
ทำงานง่ายขึ้น
มีความคิดสร้างสรรค์ เกิดการพัฒนา
คิดบวก (เมื่อมีปัญหา)
มีขวัญกำลังใจ
มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ (มีส่วนร่วม)
เพิ่มความมั่นใจ (ผู้บริหารก็ฟังลูกน้อง)
ประโยชน์ส่วนองค์กร
อยู่รอด
ต้นทุน
คุณภาพ
บรรยากาศในการทำงานไม่น่าเบื่อหน่าย
พัฒนาสู่สากล
ลูกค้าพึ่งพอใจ
การเพิ่มผลผลิตด้วยหลักการ QCDSMEE
องค์ประกอบในการเพิ่มผลผลิต เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากซึ่งผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงเพราะจะส่งผลถึงภาพลักษณ์ขององค์กรและเป็นการทำกำไรที่ยั่งยืน ปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะคำนึงถึงแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว มุ่งแต่จะลดต้นทุนทำให้มีการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณต่าง ๆ ทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์กรผู้บริโภค ดังนั้น เพื่อให้มีการดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติโดยส่วนรวม จึงควรปฏิบัติตามองค์ประกอบทั้ง 7 ประการ คือ QCDSMEE ดังนี้คือ
1. คุณภาพ (Quality)
คือ สิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ เพราะความพึงพอใจเป็นเหตุผลสำคัญที่ช่วยในการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพมาก่อน
1.1 ประเภทคุณภาพ
คุณภาพด้านเทคนิค ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพและความสามารถในการใช้งานที่ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการ เช่น ความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ ระบบป้องกันความปลอดภัย ฯลฯ
คุณภาพด้านจิตวิทยา ได้แก่ คุณลักษณะที่มีผลต่อจิตใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ เช่น ความสวยงามการออกแบบผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ของสินค้า ฯลฯ
คุณภาพด้านความผูกพันต่อเนื่องหลังการขาย เช่น การให้บริการหลังการขาย การรับประกันสินค้า ฯลฯ
คุณภาพด้านเวลา เช่น อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ความยากง่ายในการบำรุงรักษา ความรวดเร็วในการให้บริการ ฯลฯ
คุณภาพด้านจริยธรรม เช่น ความถูกต้องตรงตามมาตรฐานการผลิต ความจริงใจในการให้บริการ ฯลฯ
1.2 ความสำคัญของคุณภาพ
ได้แก่ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ช่วยในการลดต้นทุน ยกระดับความต้องการของลูกค้า ส่งม
อบได้ตามเวลากำหนด และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น
2. ต้นทุน (Cost)
หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปเพื่อดำเนินการผลิตหรือบริการ เริ่มตั้งแต่การออกแบบการผลิต การตรวจสอบ การจัดเก็บ การขนส่ง และการส่งมอบลูกค้าเรียกว่า เป็นต้นทุนการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย
2.1 ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) เป็นค่าวัตถุดิบที่ซื้อมาจากหน่วยงานภายนอก เพื่อนำไปผลิตสินค้าหรือบริการ ตลอดจนค่าวัสดุต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าถ่ายเอกสาร และค่าโทรศัพท์ต่าง ๆ เป็นต้น
2.2 ต้นทุนด้านแรงงาน (Labor Cost) คือ ค่าจ้างพนักงาน เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ในกระบวนการทำงานขององค์กร
2.3 ต้นทุนการทำงานของเครื่องจักร (Machine Operating Cost) คือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้า โดยไม่คำนึงว่าเครื่องจักรนั้นกำลังทำงานอยู่หรือไม่ เช่น ค่าเชื้อเพลิง หรือพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องจักร ค่าซ่อมบำรุงรักษา ค่าชิ้นส่วนและอะไหล่ต่าง ๆ ของเครื่องจักร เป็นต้น
ในการเพิ่มผลผลิตนั้นจะต้องลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำลง ซึ่งต้องควบคุมไปกับการบริหารคุณภาพด้วย โดยการพยายามลดความสูญเสีย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อาจไม่จำเป็นออกไป ขณะเดียวกันก็ประหยัดพลังงาน แรงงาน และทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด พนักงานต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะทำให้งานที่ทำมีคุณภาพดีขึ้นและลดการสูญเสีย
3. การส่งมอบ (Delivery)
หมายถึง การส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับหน่วยงานถัดไป ซึ่งถือว่าเป็นลูกค้าของเราได้อย่างตรงเวลา มีจำนวนครบถ้วน และมีคุณสมบัติตรงตามที่ลูกค้ากำหนด เป็นการช่วยให้หน่วยงานได้เปรียบในการแข่งขัน การที่จะบรรลุผลสำเร็จได้นั้นหน่วยงานจะต้องมีระบบการส่งมอบภายในที่ดีเสียก่อน
อุปสรรคของการส่งมอบ อุปสรรคที่สำคัญ คือความสูญเสียต่าง ๆ มีผล กระทบต่อการส่งมอบสินค้า เช่น
วัตถุดิบขาด ไม่เพียงพอต่อความต้องการของฝ่ายผลิต
เสียเวลารอคอยข้อมูล เพื่อใช้ในการออกแบบ
กำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อการผลิต
เครื่องจักรเสีย
ผลิตชิ้นงานแต่ละชิ้นเสียเวลานานเกินไป
พนักงานมีวิธีการทำงานไม่เหมาะสม
จากตัวอย่างเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการสูญเสีย ซึ่งส่งผลต่อการส่งมอบสินค้าทั้งสิ้น ทุกคนในหน่วยงานจึงควรร่วมมือกัน ช่วยกันลดความสูญเสียทุกขั้นตอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น คุณภาพเพิ่มขึ้น การเพิ่มผลผลิตสูงขึ้น และลูกค้าพอใจมากขึ้น เป็นต้น ดังนั้นการส่งมอบจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเพิ่มผลผลิต
4. ความปลอดภัย (Safety)
หมายถึง การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายกับพนักงาน ซึ่งส่งผลให้มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน หรือหมายถึงการป้องกันการสูญเสียจากอุบัติเหตุ คือการบาดเจ็บ เจ็บป่วย ทรัพย์สินเสียหายและความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต
ประโยชน์ของความปลอดภัย
ในปัจจุบันองค์กรหรือหน่วยงานมีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย และพนักงานทุกคนทำงานด้วยความปลอดภัย จะเกิดประโยชน์ดังนี้คือ
ผลผลิตเพิ่มขึ้น คือพนักงานจะมีความรู้สึกไม่หวาดกลัว หรือวิตกกังวล เมื่อมีสุขภาพแวดล้อมที่ดี มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย ทำงานได้เต็มที่ ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือดีขึ้น
ต้นทุนการผลิตลดลง คือต้นทุนการผลิตเนื่องจากความสูญเสียต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทน ค่าบาดเจ็บไม่มี ต้นทุนการผลิตจึงลดลง
ทำให้องค์กรเกิดผลกำไรมากขึ้น ทำงานอย่างปลอดภัย ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น ต้นทุนต่ำลง สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ส่งผลให้องค์กรมีกำไรมากขึ้น
สงวนทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ประเทศชาติ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจะทำให้พนักงานบาดเจ็บ พิการ ทุพลภาพ หรือเสียชีวิตลงได้ ซึ่งเป็นการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญไปแต่ถ้าสภาพการทำงานมีความปลอดภัย จะเป็นการสงวนทรัพยากรไว้
เป็นปัจจัยในการจูงใจในการทำงาน การจัดสภาพการทำงานให้ปลอดภัย จะทำให้เป็นแรงจูงใจให้พนักงานเกิดความต้องการ และรู้สึกสนใจในงานมากขึ้น
5. ขวัญและกำลังใจในการทำงาน (Morale)
หมายถึง สภาพจิตใจของพนักงาน ความรู้สึกที่มีต่อองค์กรที่ปฏิบัติงานอยู่ ซึ่งวัดระดับความรู้สึกของพนักงานทำได้ยาก แต่สามารถสังเกตดูพฤติกรรม ความสำคัญของขวัญและกำลังใจ สามารถทำให้พนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อองค์กร มีความสามัคคี มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ นำไปสู่จุดมุ่งหมายที่องค์กรกำหนดไว้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน
คุณสมบัติและลักษณะของผู้บังคับบัญชาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ความรู้สึกโดยรวมในการปฏิบัติงาน รายได้ที่ได้รับ เพื่อนร่วมงาน
รางวัลผลตอบแทน ผลประโยชน์จากกำไร
แผนและนโยบายขององค์กร
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานและบรรยากาศในการทำงาน
สุขภาพกายสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติงาน
ดังนั้นการจัดระดับขวัญและกำลังใจ สามารถจัดได้เป็นรายบุคคลว่ามีระดับขวัญและกำลังใจมากน้อยเพียงใด โดยใช้แบบทดสอบ แบบอัตนัย และแบบปรนัย การตรวจสอบขวัญและกำลังใจที่ใช้การสังเกตการณ์ สัมภาษณ์ เก็บประวัติและออกแบบสอบถาม
6. สิ่งแวดล้อม (Environment)
หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มีทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น อากาศ น้ำ ดิน ต้นไม้ สัตว์ ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินธุรกิจโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และชุมชน
ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตกับสิ่งแวดล้อม คือการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การใช้เทคโนโลยีที่สะอาดในการผลิต และการจัดการระบบสิ่งแวดล้อม เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต จะช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับการบำบัดของเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต รวมทั้งใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า ว่าจะให้ต้นทุนลดลง และมีกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มผลผลิตของธุรกิจ สังคม และประเทศชาติ
7. จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Ethics)
หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยไม่เอาเปรียบทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ลูกค้า ผู้จัดหาสินค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่แข่ง ภาครัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ
ขั้นตอนการทำไคเช็นแบบง่าย ๆ
Kaizen step
เลิก
การวิเคราะห์ว่าขั้นตอนการท างานหรือสิ่งที่เป็นอยู่บางอย่างนั้น สามารถที่จะตัดออกได้หรือไม่
ยกเลิก
ลดความไม่ต่อเนื่อง
ตัดทิ้ง
เอาออก
รวม
การพิจารณาว่าในการท างานมีกิจกรรมใดที่ต้องกระทำซ้ำกัน
ทำให้ง่ายๆ
ทำพร้อม ๆ กัน
ทำเป็นมาตรฐาน
การจัดการ
รวมเข้าด้วยกัน
เปลี่ยน
หากพิจารณาแล้วว่า ไม่สามารถเลิก และลดกิจกรรมใดได้แล้วก็อาจจะ เปลี่ยนแปลงได้ โดยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน
ทางเลือก
แลกเปลี่ยน
แยกออก
การเพิ่มคุณภาพในการทำงานด้วย Kaizen โดยการลดความสูญเปล่า 7 ประการ
การผลิตมากเกินไป มากกว่าที่ลูกค้าต้องการ
สินค้าคงคลัง การจัดเก็บสินค้ามากกว่าขั้นต่ำ
การขนส่ง การเคลื่อนย้ายที่ไม่จำเป็น
การล่าช้า/รอคอย รอคอยกระบวนการก่อนหน้า/ถัดไป
กระบวนการที่สูญเปล่า การออกแบบเครื่องมือ/ผลิตภัณฑ์ไม่ดี
การเคลื่อนไหวที่ไร้ประโยชน์ การเอื้อมหยิบ การเดิน การคันหา
ชิ้นงานที่มีข้อบกพร่อง/ของเสีย งานที่ต้องกลับมาทำ/แก้ไข/ทำลาย
ความสูญเปล่า สามารถปรับปรุงได้ด้วย Kaizen
ความสูญเปล่าจากการผลิตของเสีย (Defect)
พัฒนาวิธีการทํางาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดของเสียซ้ำใช้ Visual control
ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป (Over Production)
ลดเวลาสำหรับการตั้งเครื่องลง ผลิตเฉพาะที่จำเป็น
ความสูญเปล่าจากการจัดเก็บสินค้าคงคลัง (Inventory)
จัดทำแผนการจัดซื้อให้สอดคล้องกับกำหนดการผลิต
ความสูญเสียเปล่าการขนส่ง (Transportation)
ปรับปรุงการวางผังโรงงาน การจัดทํากิจกรรม 5 ส
ความสูญเปล่าจากกระบวนการที่ไร้ประสิทธิผล (Over Processing)
หาแนวทางขจัดความสูญเปล่าด้วยการนําหลักการ (IE Techniques)
ความสูญเปล่าจากการรอคอย (Waiting)
ปรับการไหลของงาน จัดทําระบบบํารุงรักษาเชิงป้องกัน
ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว (Motion)
ปรับลำดับขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้เกิดมาตรฐาน
4 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา (Step of Analysis & Problem Solving)
ตั้งเป้าหมาย Set Goals
ระดมสมองความคิดBrainstorming
ลงมือปฏิบัติ Action
ติดตามประเมินผล Follow up & Evaluation
Comments