การออกแบบโครงสร้างองค์กรและการวางแผนอัตรากำลัง
อัปเดตเมื่อ 18 มี.ค. 2565
#การออกแบบโครงสร้างองค์การ #การบริหารทรัพยากรบุคคล #ทฤษฎีการออกแบบองค์การ #การวางแผนอัตรากำลังคน #อบรมhr #ฝึกอบรม #hr #คอร์สเรียนhr #หลักสูตรอบรมhrมือใหม่ #อบรมสัมมนา #สถานบันฝึกอบรม #หลักสูตรอบรมผู้บริหาร #อบรมอินเฮาส์ #Inhouse #Training #human #resource #planning
การบริหารทรัพยากรบุคคลและทฤษฎีการออกแบบองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จดังนั้นการออกแบบโครงสร้างองค์กรให้สัมพันธ์กับประเภทและขนาดของธุรกิจโดยใช้ทฤษฎีการออกแบบองค์การจึงเป็นเรื่องแรกที่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลต้องให้ความสำคัญ สิ่งที่มีความสำคัญกับการออกแบบโครงสร้างองค์กรที่ดีคือ ความสอดคล้องกับเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมขององค์กรและทฤษฎีการออกแบบองค์การในขณะนั้น โดยเฉพาะสภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างองค์กรโดยตรง เนื่องจากการออกแบบโครงสร้างองค์กรจะมีผลเชื่อมโยงถึงทฤษฎีการออกแบบองค์กรและจำนวนพนักงานซึ่งถือเป็นเรื่องหลักที่เชื่อมโยงต่องบประมาณด้านบุคลากรและเป็นต้นทุนประจำ (Rix labor cost) ในระหว่างขององค์กร ที่จะเป็นปัจจัยหลักอันสำคัญต่อการอยู่รอดขององค์กรในอนาคต ความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ทฤษฎีการออกแบบองค์กร การออกแบบโครงสร้างองค์กร การกำหนดจำนวนอัตรากำลังคน และประเภทการจ้างที่เหมาะสมในระยะยาว หลักสูตรการออกแบบโครงสร้างองค์กรและการวางแผนอัตรากำลัง จะได้หลักการแนวคิดและแนวทางปฏิบัติจาก Workshop ที่ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในองค์กรให้เกิดประสิทธิผล ประสิทธิภาพด้านการออกแบบโครงสร้างองค์กรและการวางแผนกำลังคนขององค์กร
องค์การ 5 แบบ ของมินซ์เบอร์ก (Mintzberg’s framework : five organization forms)
การออกแบบโครงสร้างองค์การของมินซ์เบอร์ก โดยการเลือกออกแบบองค์การให้เป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละองค์กรต้องการอาศัยคนกลุ่มใดเป็นหลัก ซึ่งมินซ์เบอร์กเห็นว่าสามารถออกแบบได้ 5 ประเภท ได้แก่
1) องค์การแบบโครงสร้างอย่างง่าย (Simple structure) เป็นการออกแบบโครงสร้างองค์การขององค์กรที่มีขนาดเล็กและลักษณะที่ไม่เป็นทางการ หัวหน้าจะเป็นผู้ที่มีอำนาจเพียงผู้เดียวและรับผิดชอบทุกอย่าง ตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ร้านอาหาร เป็นต้น
2) องค์การแบบจักรกลเชิงราชการ (Machine bureaucracy) เป็นการออกแบบโครงสร้างองค์การขององค์การที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนสูง มีการแบ่งงานออกเป็นแผนกหรือตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีการใช้กฏเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้พนักงานปฏิบัติตาม กลุ่มคนที่เป็นหลักขององค์การคือ กลุ่มคนที่เป็นผู้ชํานาญการ (The technostructure) อำนาจในการตัดสินใจจะอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูง เหมาะกับองค์กรที่มีสภาวะคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
3) องค์การทางวิชาชีพแบบราชการ (Professional bureaucracy) เป็นการออกแบบโครงสร้างองค์การขององค์การที่ผู้ปฏิบัติการหลักคือ นักวิชาชีพและนักวิชาการ เช่น โรงพยาบาล หรือมหาวิทยาลัย มีความเป็นราชการค่อนข้างสูง มีกฏระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามมากมาย แต่พนักงานมีทักษะและมีอิสระในการตัดสินใจเองสูง เป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพสูงเพราะประกอบไปด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ แต่องค์การแบบนี้ก็มีจุดอ่อนคือ บุคลากรภายในหน่วยงานอาจสนใจเพียงหน่วยงานของตัวเอง จนมองไม่เห็นภาพกว้างขององค์การ จึงมักเกิดความขัดแย้งระหว่างพนักงานด้วยกัน
4) องค์การแบบมีโครงสร้างสาขา (Divisionalized structure) เป็นการออกแบบโครงสร้างองค์การขององค์การที่ใช้มากในบริษัทขนาดใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นสาขาหรือหน่วยงานย่อยๆ มีความอิสระในการดำเนินงานได้ครบถ้วนทุกขั้นตอนในตนเองเหมือนกับองค์การแม่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงมีเวลาในการบริหารในภาพรวมและตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้มากขึ้น
5) องค์การแบบทีมงานเฉพาะกิจ (Adhocracy) เป็นการออกแบบโครงสร้างองค์การของโครงสร้างองค์การที่มีลักษณะไม่เป็นทางการ (Informal) สูงมาก มีความองค์การแบบสิ่งมีชีวิต ที่ประกอบด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญต่างสาขามาร่วมงานและประสานงานกันในโครงการต่างๆ ขององค์การ
การออกแบบองค์การ
การออกแบบองค์การ การปฏิรูปองค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับทฤษฎีการออกแบบองค์กรและการวางเกณฑ์ตัดสิน ซึ่งการทำเช่นนั้น จะช่วยให้องค์กรสามารถมุ่งสู่เป้าหมายที่จะดำเนินต่อไปได้ และรู้ว่าองค์ประกอบไหนที่ยังจำเป็นหรือขาดสำหรับองค์กรอยู่ อย่างเช่น พบว่าองค์กรยังขาดบุคลากรก็สามารถรับเพิ่มได้ หรือหากพนักงานยังมีความรู้ในการทำงานไม่พอก็ให้พวกเขาไปเข้าอบรมเพิ่มทักษะการทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กรด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็สามารถพิจารณาเรื่องนี้ได้เช่นกัน
พบว่าองค์กรยังขาดบุคลากรก็สามารถรับเพิ่มได้ หรือหากพนักงานยังมีความรู้ในการทำงานไม่พอก็ให้พวกเขาไปเข้าอบรมเพิ่มทักษะการทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กรด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็สามารถพิจารณาเรื่องนี้ได้เช่นกัน
การวางแผนอัตรากำลังคน
การวางแผนอัตรากำลังคน
การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) หมายถึง การคาดการณ์ คาดคะเน หรือการวิเคราะห์ จำนวนความต้องการกำลังคนขององค์กร ประเภทพนักงานที่มีความสามารถเหมาะสมที่จะมาปฎิบัติงานให้พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง การขยายตัว หรือลดขนาดองค์กร เพื่อความเหมาะสมของขนาดองค์กร และเป้าหมายของธุรกิจ เป็นทฤษฎีการออกแบบองค์กรสำคัญที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลควรมีความรู้ความเข้าใจ
ทำไมถึงต้องวางแผนกำลังคน
สถานการณ์เปลี่ยนเร็วมาต้อง
“เตรียมการล่วงหน้า”
ไม่ใช่ “แก้ปัญหาเฉพาะหน้า”
1) การวางแผนอัตรากำลังคนตามทฤษฎีการออกแบบองค์กรเพื่อใช้กำลังคนให้สอดคล้อง เหมาะสมกับงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า
2) การวางแผนอัตรากำลังคนตามทฤษฎีการออกแบบองค์กรเพื่อเตรียมกำลังคนทั้งด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ สำหรับการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
3) การวางแผนอัตรากำลังคนตามทฤษฎีการออกแบบองค์กรเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจในการบริหารทรัพยากรบุคคล
เครื่องมือช่วยตัดสินใจใน
การบริหารทรัพยากรบุคคล
1) การวางแผนสรรหา และคัดเลือกบุคลากร เพื่อลด Recruitment Gaps ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
2) การพัฒนาบุคลากร (Training and Development) ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
3) การวางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Development) ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
4) การสืบทอดตำแหน่ง / สร้างความต่อเนื่องในการบริหาร (Succession Planning) ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
5) การบริหารค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่น ค่าตอบแทน สวัสดิการ (Compesation & Benefit ) ช่ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
6) การตัดสินใจลด หรือเพิ่มกำลังคนด้วยมาตรการต่างๆ (Expansion / Restructuring / Reduction) ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
การวางแผนอัตรากำลัง
การวางแผนอัตรากำลังคนโดยการวางแผนอัตรากำลังคนนี้จะต้องพิจารณาเรื่องต่าง ๆ นี้ประกอบด้วย
1) การวางแผนอัตรากำลังคนนี้จะต้องพิจารณาเรื่องเวลา หมายถึง มีเวลาเพียงพอที่จะรอสร้างพนักงานหรือไม่ ถ้าไม่พอก็ต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเน้นการสรรหาคนใหม่เข้ามามากกว่า ส่วนการพัฒนาก็ให้ทำควบคู่ไปโดยอาจจะมีการนำความรู้เรื่องทฤษฎีการออกแบบองค์กรมาเป็นส่วนช่วยในบางจุดด้วย
2) การวางแผนอัตรากำลังคนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลจะต้องพิจารณาเรื่องทรัพยากร ที่เกี่ยวข้องมีพอหรือไม่ อาทิ เครื่องมือต่างๆ ในการทำงาน เทคโนโลยี โปรแกรม เครื่องจักร สิ่งเหล่านี้มีพร้อมมากน้อยแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น หาคนมาได้แต่ขาดเครื่องมือในการทำงาน ทำให้คนที่เข้ามาไม่สามารถสร้างผลงานได้ ดังนั้น ต้องคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนเรื่องการจัดหาทรัพยากรและใช้ตามทฤษฎีการออกแบบองค์กรให้สอดคล้องกัน
3) การวางแผนอัตรากำลังคนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลจะต้องพิจารณาเรื่องความพร้อมของพนักงานเอง พนักงานของเราเองพร้อมเติบโต พัฒนาต่อยอดความรู้ และทักษะใหม่ๆ เพียงใด ยกตัวอย่างเช่น พนักงานรุ่นเก่าตั้งแต่ยุคก่อตั้งบริษัท อาจไม่พร้อมที่จะรับเทคโนโลยีใหม่ๆ หากพิจารณาจุดนี้ HR ก็จะทราบว่าควรลงทุนกับการพัฒนาพนักงานปัจจุบัน หรือควรเลือกรับคนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาปฏิบัติงาน
สรุป
การออกแบบโครงสร้างองค์กรและการวางแผนอัตรากำลังคน มีความสำคัญกับผู้บริหารและผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (human resource planning ) และทฤษฎีการออกแบบองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จดังนั้นการออกแบบโครงสร้างองค์กรให้สัมพันธ์กับประเภทและขนาดของธุรกิจโดยใช้ทฤษฎีการออกแบบองค์การจึงเป็นเรื่องแรกที่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลต้องให้ความสำคัญ สถาบันฝึกอบรม ท๊อปโฟรเฟสชั่นแนล แอนด์ เดเวอร์ลอปเม้นท์ มีบริการคอร์สเรียนฝึกอบรมหลักสูตร การออกแบบโครงสร้างองค์กรและการวางแผนอัตรากำลังคน ซึ่งเหมาะสมกับผู้บริหาร HR มือใหม่ และบุคคลอื่นที่สนใจ โดยลักษณะของการอบรมจะเป็นแบบ Inhouse Training มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการออกแบบโครงสร้างองค์กรและการวางแผนอัตรากำลังคนเป็นผู้บรรยายในหลักสูตร
ที่มา : https://bit.ly/3tQfLh5 , https://bit.ly/3MJynYF
อบรม HR : https://www.hrodthai.com/
Comments