การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ
การแก้ไขปัญหา
ขั้นตอนที่ 1 : วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดรายละเอียดของปัญหา
การทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหา
หรือเงื่อนไขของปัญหา คือ อะไรและสิ่งที่ต้องการคืออะไร
อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผล
ขั้นตอนที่ 2 : วางแผนในการแก้ปัญหา
อาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลัก ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือก
เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือ
กับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหา
ขั้นตอนที่ 3 : ดำเนินการแก้ปัญหา
ลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้
เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ
ขั้นตอนที่ 4 : การตรวจสอบและปรับปรุง
การทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือ
เงื่อนไขของปัญหาคืออะไร และสิ่งที่ต้องการคืออะไร
อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผล
การตัดสินใจ
ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดขอบเขตความสำคัญของการตัดสินใจ
ผู้ที่ต้องตัดสินใจต้องสามารถรู้และระบุได้ว่าอะไรคือเป้าหมายหรือ
ผลลัพธ์ที่อยากได้จากการตัดสินใจครั้งนี้
ขั้นตอนที่ 2 : รวบรวมทางเลือกที่มีทั้งหมดออกมา
เพื่อหาว่ามีทางเลือกอะไรที่จะเป็นไปได้และเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 : ศึกษาและกำหนดขอบเขตของแต่ละทางเลือก
ศึกษาแต่ละทางเลือกในการตัดสินใจว่ามีประโยชน์ (Benefit) ข้อดี ข้อเสีย (Advantage, Disadvantage) ความเสี่ยง (Risk) อะไรบ้าง เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 : ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ณ ตอนนั้น ตามทางเลือกที่ได้ศึกษา
มาที่ทำให้องค์ได้ประโยชน์สูงสุดบางครั้งหากมีทางเลือกที่ดีพอๆกัน
ผู้ทำการตัดสินใจอาจจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจด้วย
ขั้นตอนที่ 5 : ประเมินการตัดสินใจ
หลังจากการตัดสินใจไปแล้วในแต่ละครั้งให้ประเมินผลการตัดสินใจในนั้นด้วย
เพื่อเรียนรู้และนำมาเป็นบทเรียนในการตัดสินใจในครั้งต่อๆไป