ข้อกำหนดและการประยุกต์ใช้การจัดการพลังงาน ISO 50001:2011
ข้อกำหนดและการประยุกต์ใช้การจัดการพลังงาน ISO 50001:2011 เป็นระบบมาตรฐานการจัดการด้านพลังงานพลังงาน เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในธุรกิจที่ใช้กับทุกิจกรรมขององค์กร ล้วนต้องการใช้พลังงาน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจของตนเองไม่ว่าจะด้านการผลิตสินค้าหรือบริการ การใช้พลังงานจึงจำเป็นต้องมีบริหารจัดการที่ดี การนำระบบมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 50001 มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยมาตรฐานฉบับใหม่นี้ได้มีการปรับปรุงให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์บริบทองค์กรที่เกี่ยวด้านลังงาน และความเป็นผู้นำของผู้บริหารเพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนบนมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 50001
ความสำคัญของระบบการจัดการพลังงาน
จากสภาวการณ์ในปัจจุบันของโลก และของประเทศไทยปัญหาด้านพลังงานและปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาที่สำคัญ และมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน และเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิตในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตามการใช้พลังงานได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดภาวะโลกร้อนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มุ่งเน้นการปรับปรุงด้านเทคนิค และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ แต่ยังขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน กล่าวคือขาดกลไกการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีกลยุทธ์ด้านแผนการจัดการพลังงานที่ชัดเจนทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จมากนัก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่งรับผิดชอบในการกำกับดูแลโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ได้เล็งเห็นความสำคัญในปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินการด้านการอนุรักษ์พลังงานให้ทันสมัย และสอดรับกับแนวทางในการจัดการพลังงานที่ให้ความสำคัญในการสร้างกลไกในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จึงได้ออกพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ขึ้นโดยมุ่งเน้นในการดำเนินการจัดการพลังงาน ซึ่งกำหนดเป็นแนวทางในการจัดทำระบบการจัดการพลังงาน ในกฏกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552
1.2 ความเข้าใจเบื้องต้นระบบมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 50001
1.2.1 ISO คืออะไร
ISO คือองค์กรระหว่างประเทศ ว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2490 (ค.ศ. 1947) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
วัตถุประสงค์ขององค์กร ISO ก็เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ และขจัดข้อโต้แย้ง รวมถึงการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจน การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ในด้านวิชาการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกล่าวง่าย ๆ ได้ว่า บริษัทหรือองค์กรใดได้รับ ISO ก็หมายความว่า สินค้า บริการ หรือระบบการจัดการต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่วน มาตรฐานที่องค์กรนี้ออกมา ก็ใช้ชื่อนำหน้าว่า ISO เช่น ISO 9000 ก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพ ISO 14000 เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และ ISO 50001 ก็คือ มาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน (ส่วนเลขต่อท้ายจะเป็น ปี ค.ศ. ที่ประกาศใช้ เช่น ISO50001:2011 ก็คือมาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ที่ประกาศใช้ในปี 2011 (วันที่ 15 มิถุนายน 2011)
1.2.2 การนำมาตรฐาน ISO 50001 ไปใช้
มาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 ฉบับนี้ระบุข้อกำหนดสำหรับองค์กรในการจัดทำ นำไปปฏิบัติ คงรักษาไว้ และปรับปรุงระบบการจัดการพลังงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรจะสามารถดำเนินการอย่างเป็นระบบในการปรับปรุงสมรรถะด้านพลังงาน ซึ่งรวมถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน,ลักษณะการใช้พลังงานและปริมาณการใช้พลังงาน ข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้ประยุกต์เข้ากับลักษณะการใช้และปริมาณการใช้พลังงาน รวมถึงการตรวจวัด การจัดทำเอกสาร และการรายงาน การออกแบบ และการปฏิบัติการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้พลังงาน ระบบกระบวนการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะด้านพลังงาน ครอบคลุมถึงปัจจัยทั้งหมดที่มีผลกระทบต่อสมรรถะด้านพลังงานซึ่งสามารถเฝ้าติดตาม และควบคุมดูแลได้โดยองค์กร แต่มาตรฐานสากลฉบับนี้ไม่ได้กำหนดเกณฑ์ของสมรรถนะที่เฉพาะเจาะจงในด้านพลังงาน และได้ถูกออกแบบให้ใช้มาตรฐานนี้ได้อย่างเป็นอิสระแต่ก็สามารถนำไปใช้ได้ในแนวทางเดียวกับหรือบูรณาการกับระบบการจัดการอื่นๆได้ เช่น ISO 9000, ISO 14000 เป็นต้น มาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 ให้ความสำคัญในเรื่องของระบบเอกสาร เช่นเดียวกับมาตรฐานอื่น ๆ กล่าวคือองค์กรต้องกำหนด และจัดทำนำไปปฏิบัติ และคงรักษาไว้ โดยเอกสารที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับระบบอย่างน้อยประกอบด้วย คู่มือระบบการจัดการพลังงาน (Energy Management Manual) ระเบียบปฏิบัติงาน (Procedure Manual) วิธีปฏิบัติงาน (Work Instruction) และฟอร์ม (Form) ต่าง ๆ ที่ใช้บันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ของระบบฯ
1.2.4 ข้อกำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 50001
ในที่นี้ขอสรุปข้อกำหนดในมาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001 ให้พอเข้าใจโดยสังเขป ส่วนรายละเอียดคงต้องศึกษาโดยละเอียดต่อไป ซึ่งได้แบ่งข้อกำหนดออกเป็น 4 ส่วนหลักตามวงล้อ P-D-C-A (Plan-Do-Check-Act) ดังแสดงในรูปและเปรียบเทียบกับข้อกำหนดของการจัดการพลังงานตามกฎหมายกับมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 50001
โดยสรุประบบมาตรฐานการจัดการพลังงานกำหนดให้มีการระบุขอบเขต (Boundary) และขอบข่าย (Scope) ของการจัดทำระบบการจัดการพลังงานให้เหมาะสมกับองค์กร โดยผู้บริหารสูงสุดจะประกาศแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหาร (EnMR) และ EnMR จะสรรหาคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานเพื่อร่วมดำเนินการจัดทำระบบการจัดการพลังงาน จากนั้นองค์กรต้องจัดให้มีการวางแผนพลังงาน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการทบทวน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) การวางแผนพลังงาน (PLAN) โดยการวัดและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานเพื่อบ่งชี้การใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ (Significant Energy Use) ขององค์กร และกำหนดข้อมูลฐานพลังงานอ้างอิง (Energy Baseline) และดัชนีวัดสมรรถนะพลังงาน (En PIs) ของกระบวนการหรือเครื่องจักรหลักในการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญนั้น เพื่อชี้บ่งโอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะพลังงานขององค์กรและบ่งชี้ตัวแปรที่มีผลต่อสมรรถะพลังงาน โดยกำหนดเป็นเป้าหมาย และแผนด้านพลังงานเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการตรวจสอบต่อไป
2) การปฏิบัติ (DO) การปฏิบัติในที่นี้ไม่ใช่เพียงแต่นำมาตรการด้านการอนุรักษ์พลังงานที่กำหนดขึ้นไปปฏิบัติเพียงด้านเดียว แต่ยังครอบคุลมถึงด้านผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ที่ต้องกำหนดความสามารถและการฝึกอบรมที่จำเป็นในการปฏิบัติงานรวมถึงความตระหนักด้านพลังงานของคนในองค์กร ด้านการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้านระบบเอกสารซึ่งต้องมีรายละเอียดของข้อกำหนดด้านเอกสารและการควบคุมเอกสารซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบมาตรฐานการจัดการ ISO ด้านการควบคุมด้านปฏิบัติและการบำรุงรักษาเฉพาะกระบวนการหรือเครื่องจักรที่มีนัยสำคัญ ถ้าจำเป็นก็ต้องกำหนดวิธีปฏิบัติงาน (WI) ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น วิธีปฏิบัติงานการเริ่มเดินหม้อไอน้ำ เป็นต้น ด้านการออกแบบและการจัดหาบริการด้านพลังงาน ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ และพลังงาน ซึ่งต้องมีการประมินด้านสมรรถนะพลังงานทุกครั้งที่มีการออกแบบปรับปรุงหรือการจัดซื้อนที่มีผลกระทบต่อกระบวนการหรือเครื่องจักรที่มีนัยสำคัญ
3) การตรวจสอบ (CHECK) เป็นกระบวนการในการตรวจติดตามและเฝ้าระวังให้เชื่อมันได้ว่าระบบการจัดการพลังงานขององค์กรยังคงอยู่ และมีสมรรถนะพลังงานที่ดี โดยการกำหนดแผนในการเฝ้าระวังและการตรวจติดตามสมรรถะพลังงาน การตรวจติดตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ด้านพลังงาน อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการตรวจประเมินภายในของระบบการจัดการพลังงานที่ต้องทำทุกปี หากพบข้อบกพร่องหรือแนวโน้มที่จะเกิดข้อบกพร่องต้องดำเนินการปฏิบัติการแก้ไขและปฏิบัติการป้องกัน
4) การทบทวน (ACT) องค์กรต้องดำเนินการทบทวนการบริหารโดยผู้บริหารระดับสูงทุกปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบการจัดการพลังงานยังคงอยู่ และมีการปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมในทุก ๆ ด้านของระบบการจัดการพลังงาน
แนวคิดของสมรรถนะด้านพลังงาน
สมรรถนะด้านพลังงานครอบคลุมถึงลักษณะการใช้พลังงาน ประสิทธิภาพพลังงาน และปริมาณการใช้
พลังงาน ดังนั้น องค์กรสามารถเลือกกิจกรรมที่เกี่ยวกับสมรรถนะด้านพลังงานได้อย่างกว้างขวางตัวอย่างเช่น องค์กรอาจลดความต้องการพลังงานสูงสุด หรือใช้ประโยชน์จากพลังงานส่วนเกิน หรือพลังงานจากของเสีย หรือ ปรับปรุงระบบ กระบวนการ หรืออุปกรณ์
4.1 ข้อกําหนดทั่วไป (General Requirements) องค์กรต้อง
a) จัดทําระบบ จัดทําเอกสาร นําไปปฏิบัติคงรักษาไว้ และปรับปรุงระบบการจัดการพลังงาน ตาม ข้อกําหนดของมาตรฐานสากลนี้
b) กําหนดและจัดทําเอกสารที่ระบุขอบข่ายและขอบเขตของระบบการจัดการพลังงาน
c) กําหนดวิธีการดําเนินงานที่จะทําให้เป็นไปตามข้อกําหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้ เพื่อให้บรรลุถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของสมรรถนะด้านพลังงานและระบบการจัดการพลังงาน
4.2.2 ตัวแทนฝ่ายบริหาร (Management Representative)
ผู้บริหารสูงสุดต้องแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร (Energy Management Representative (s)"EnMR") ที่มีความชำนาญ และความสามารถที่เหมาะสม เพื่อให้มีความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้ (นอกเหนือจากความรับผิดชอบอื่นใด)
a) ทำให้มั่นใจว่าระบบการจัดการพลังงาน ได้ถูกจัดทำ นำไปปฏิบัติ คงรักษาไว้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามที่กำหนดในมาตรฐานสากลนี้
b) กำหนดตัวบุคคลและกำหนดอำนาจหน้าที่ในระดับบริหารที่เหมาะสม เพื่อทำงานร่วมกับ EnMR การสนับสนุนกิจกรรมการจัดการพลังงาน
C) รายงานสมรรถนะด้านพลังงานต่อผู้บริหารสูงสุด
d) รายงานสมรรถนะของระบบการจัดการพลังงานต่อผู้บริหารสูงสุด
e) ทำให้มั่นใจว่าการวางแผนกิจกรรมด้านการจัดการพลังงานได้ถูกออกแบบให้สนับสนุนนโยบายด้านพลังงานขององค์กร
f) กำหนดและสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบถึงความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่เพื่อทำให้ระบบการจัดการพลังงานเกิดประสิทธิผล
g) กำหนดเกณฑ์หรือวิธีการที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทั้งการปฏิบัติงานและการควบคุมในระบบการจัดการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
h) ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับในองค์กรมีความตระหนักถึงนโยบายพลังงานและวัตถุประสงค์ด้านพลังงาน
ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management Responsibility)
แนวทางการปฏิบัติตามข้อกําหนด 4.2.1
ผู้บริหารสูงสุดต้องแสดงความมุ่งมั่นในการขอรับรองระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001:2011 และ เป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งใหัการสนับสนุนในการปรับปรุงระบบการจัดการพลังงานอย่างต่อเนื่องให้เกิดประสิทธิผลโดย
พิจารณานโยบายพลังงาน และลงนามอนุมัติในประกาศนโยบายพลังงาน
คัดเลือกตัวแทนฝ่ายบริหาร รวมทั้งลงนามอนุมัติในประกาศแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร และทีมจัดการพลังงาน ตัวอย่าง : “ประกาศแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร”
จัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอในการจัดทําระบบการจัดการพลังงาน
กําหนดขอบข่ายและขอบเขตที่ต้องการจะขอรับรองระบบการจัดการพลังงานให้ชัดเจน
สื่อสารให้พนักงานในองค์กรทราบถึงความสําคัญของการจัดการพลังงาน รวมถึงการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ฝึกอบรม ติดประกาศ ประชุมชี้แจง พนักงาน
พิจารณาตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานที่เหมาะสมกับองค์กร รวมทั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ด้านสมรรถนะพลังงาน
พิจารณาถึงสมรรถนะด้านพลังงานในการวางแผนระยะยาว เช่น การขยายกําลังการผลิต การผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ การสร้างโรงงานใหม่ เป็นต้น
4.3 นโยบายพลังงาน (Energy Policy)
นโยบายพลังงานต้องระบุถึงความมุ่งมั่นในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้บริหารสูงสุดต้องมั่นใจได้ว่านโยบายด้านพลังงาน :
a) มีความเหมาะสมกับธรรมชาติ และขนาดของลักษณะการใช้และปริมาณการใช้พลังงานขององค์กร
b) แสดงถึงความมุ่งมั่นต่อการปรับปรุงสมรรถนะพลังงานอย่างต่อเนื่อง
c) แสดงถึงความมุ่งมั่น ที่มั่นใจได้ว่ามีสารสนเทศและทรัพยากรที่เพียงพอและจำเป็นต่อการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
d) แสดงถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้ ปริมาณการใช้และประสิทธิภาพการใช้พลังงานขององค์กร
e) เป็นกรอบในการกำหนด และทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านพลังงาน
f) สนับสนุนการจัดซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการออกแบบเพื่อปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
g) มีการจัดทำเป็นเอกสารและสื่อสารแก่บุคลากรทุกระดับภายในองค์กร
Comments