top of page

ทำโอที วันแรงงาน ต้องได้เงิน 3 เท่า

อัปเดตเมื่อ 24 พ.ค. 2566



"ทำ OT วันแรงงาน ต้องได้ 3 เท่า"


วันแรงงาน ถือเป็นวันหยุดตามประเพณีที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างทุกคนต้องจัดให้ลูกจ้างทุกคนหยุด 1 วัน โดยได้รับค่าจ้าง


มาตรา 29 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดว่า นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติ และต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเท่ากับวันทำงาน


ถ้าไม่สามารถหยุดงานได้ เนื่องจากมีลักษณะงานที่จำเป็นหรือต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดอาจจะเสียหายแก่งาน เช่น ทำงานโรงแรม ร้านขายอาหาร สถานพยาบาล เราก็ต้องได้หยุดชดเชยวันอื่นแทน หรือได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุด โดยต้องได้รับเงินเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ เพราะวันนี้ เราต้องได้หยุดและได้ค่าจ้างอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าต้องทำงานจึงต้องได้เงินค่าจ้างเท่ากับทำงาน 2 วันหรือมากกว่านั้น


หากนายจ้างให้ลูกจ้างมาทำงานในวันแรงงานจะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่ลูกจ้างอีก 1 แรง หมายความว่า แม้ลูกจ้างไม่มาทำงานก็จะได้ค่าจ้างอยู่แล้ว นายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้างโดยอ้างว่าเป็นวันหยุดไม่ได้ และกรณีวันแรงงานซึ่งเป็นวันหยุดตามประเพณีนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างทุกประเภท


และในกรณีทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติ โดยทั่วไปคือทำงานเกิน 8 ชม. และเป็นวันหยุด จะต้องได้ค่าล่วงเวลาในวันหยุด 3 เท่าของค่าจ้างรายชั่วโมงในวันทำงานปกติ (หรือได้ 3 แรง)


ข้อสังเกต อาจมีงานบางประเภทที่นายจ้างอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง กำหนดให้ลูกจ้างทำงานวันละ 12 ชั่วโมง แต่ไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง เช่นนี้ การทำงานล่วงเวลาก็จะเป็นการทำงานเกิน 12 ชั่วโมง ซึ่งโอกาสหน้าจะเขียน (ประเด็นว่างานอะไรบ้างที่กฎหมายให้ทำงานได้มากถึงวันละ 12 ชั่วโมง)
ดู 263 ครั้ง

Comentários


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page