ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม (EMR)
ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกกันว่า EMR Environmental Management Representative มาตรฐาน ISO 14001:2015 กำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบไว้ว่า นอกเหนือจากงานรับผิดชอบอย่างอื่น ต้องได้รับการกำหนด บทบาท อำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ในหน้าที่ด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ดังนี้เฝ้าติดตามให้มั่นใจว่าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้มีการถูกนำไปปฏิบัติและคงรักษาไว้สอดคล้องกับที่ได้กำหนดไว้อย่างครบถ้วน สอดคล้องกฎหมาย และตามมาตรฐาน ISO 14001 เฝ้าติดตาม การดำเนินการแก้ไข และป้องกันความไม่สอดคล้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งที่มีอยู่จริง และทั้งที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นเฝ้าติดตาม การประสิทธิภาพการควบคุมเอกสารของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมกำหนดและเฝ้าติดตาม การตรวจติดตามสิ่งแวดล้อมภายในบริษัทฯ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกําหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กําหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กําหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจํา และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ผู้ควบคุมดูแล สําหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ บุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจําโรงงาน หมายถึง
๒.๑ ผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ได้แก่
๒.๑.๑ ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม
๒.๑.๒ ผู้ควบคุมระบบบําบัดมลพิษน้ํา หรือบริษัทที่ปรึกษา
๒.๑.๓ ผู้ควบคุมระบบบําบัดมลพิษอากาศ หรือบริษัทที่ปรึกษา
๒.๑.๔ ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม หรือบริษัทที่ปรึกษา
หน้าที่ของผู้จัดการสิ่งแวดล้อม
หมวด ๕ หน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจําโรงงาน
ข้อ ๖ ผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
๖.๑ ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม
๖.๑.๑ ดูแลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงานทั้งการบําบัดมลพิษ และการป้องกันมลพิษที่แหล่งกําเนิดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๖.๑.๒ ดูแลการจัดการมลพิษของโรงงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด
๖.๑.๓ พิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ การบําบัด หรือการกําจัดมลพิษ ของโรงงาน
๖.๑.๔ จัดทําแผนปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อป้องกันไม่ให้มลพิษแพร่กระจายสู่ สิ่งแวดล้อม และหากเกิดเหตุฉุกเฉินให้ดําเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็ว
๖.๑.๕ ตรวจสอบและรับรองรายงานผลวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษ
ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environment management Representative : EMR) ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
มีภาวะผู้นำ
มีความสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ดี
มีความรู้ความเข้าใจในองค์กรดี
มีทักษะในการบริหารงานโครงการ
มีความรับผิดชอบ และมีเวลาเพียงพอ
มีมนุษยสัมพันธ์ และทำงาน ร่วมกับผู้บริหารได้ดี อาจเป็นผู้บริหารระดับรอง/ ผจก.ส่วนผลิต/ ผจก.ส่วนควบคุมคุณภาพ
กระบวนการวางแผนการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งองค์กรควรให้ความสำคัญก่อนที่จะเริ่มจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมนั้นควรพิจารณาถึง
สิ่งที่ต้องดำเนินการ และลำดับความสำคัญก่อน - หลัง
แนวทางการดำเนินงาน
ผู้รับผิดชอบ
โรงงานต่อไปนี้ต้องมี ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ประจําโรงงาน
1. โรงงานที่มีน้ําเสียปนเปื้อนสารอินทรีย์ โรงงานที่มีปริมาณน้ําเสียก่อนเข้าระบบบําบัด ตั้งแต่ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป (ยกเว้นน้ําหล่อเย็น) หรือโรงงานที่มีปริมาณ ความสกปรกใน รูปบีโอดีก่อนเข้าระบบบําบัด (BOD Load of Influent) ตั้งแต่ 100 กิโลกรัมต่อวันขึ้นไป
2. โรงงานที่ใช้สารหรือองค์ประกอบของสาร ดังต่อไปนี้ในกระบวนการผลิตที่มีน้ําเสียก่อน เข้าระบบบําบัด ตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เมตร ต่อวันขึ้นไป 2.1 สังกะสี (Zinc) 2.2 แคดเมียม (Cadmium) 2.3 ไซยาไนด์ (Cyanide) 2.4 ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ (Organic Phosphorus Compounds) 2.5 ตะกั่ว (Lead) 2.6 ทองแดง (Copper) 2.7 บาเรียม (Barium) 2.8 เซเลเนียม (Selenium) 2.9 นิเกิล (Nickel) 2.10 แมงกานีส (Manganese) 2.11 โครเมียม วาเลนซี ๖ (Hexavalent Chromium) 2.12 อาร์ซินิคและสารประกอบอาร์ซินิค (Arsenic and its Compounds) 2.13 ปรอทและสารประกอบปรอท (Mercury and its Compounds)
3. โรงงานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้ 3.1 ผลิตน้ําตาลทรายดิบ หรือน้ําตาลทรายขาว หรือน้ําตาลทรายขาวให้บริสุทธิ์ ทุกขนาด 3.2 ผลิตน้ําตาลกลูโคส เดกซ์โทรส ฟรักโทส หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน ที่มีกําลัง การผลิต ตั้งแต่ 20 ตันต่อวันขึ้นไป
4. โรงงานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้ 4.1 ผลิตสุรา แอลกอฮอล์ ที่มีกําลังการผลิต ตั้งแต่ ๔๐,๐๐๐ ลิตรต่อเดือน (คิดเทียบที่ 24 ดีกรี) 4.2 ผลิตไวน์ ที่มีกําลังการผลิตตั้งแต่ ๖๐๐,๐๐๐ ลิตรต่อเดือน 4.3 ผลิตเบียร์ ที่มีกําลังการผลิตตั้งแต่ ๖๐๐,๐๐๐ ลิตรต่อเดือน
5. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตเยื่อ จากไม้หรือวัสดุอื่น ที่มีกําลังการผลิต ตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป
6. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับปิโตรเคมี ที่มีกระบวนการผลิตทางเคมี และมีกําลังการ ผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป
โรงงานต่อไปนี้ต้องมี ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ประจําโรงงาน
7. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิต คลอ - แอลคาไลน์ที่ใช้โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เป็นวัตถุดิบในการผลิตโซเดียมคาร์บอเนต (Na๒CO๓) โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) กรดไฮโดรคลอริก (HCl) คลอรีน (Cl๒) โซเดียมไฮโพคลอไรด์ (NaOCl) และปูน คลอรีน (Bleaching Powder) ที่มีกําลัง การผลิตสารแต่ละชนิดหรือรวมกัน ตั้งแต่ ๑๐๐ ตันต่อวันขึ้นไป
8. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตสาร ออกฤทธิ์หรือสารที่ใช้ป้องกันหรือกําจัดศัตรูพืช หรือสัตว์โดยใช้กระบวนการเคมี ทุกขนาด หรือประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยเคมี โดยใช้กระบวนการเคมี ทุกขนาด
9. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตยาง เรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ พลาสติก หรือเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งมิใช่ใยแก้ว ที่มีกําลังการผลิตตั้งแต่ ๑๐๐ ตันต่อวันขึ้นไป
10. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการกลั่น น้ํามันปิโตรเลียม ทุกขนาด
11. โรงงานประกอบกิจการผลิตปูนซีเมนต์ ทุกขนาด
12. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเหล็กหรือ เหล็กกล้า ที่มีกําลังการผลิตตั้งแต่ ๑๐๐ ตัน ต่อวันขึ้นไป
โรงงานต่อไปนี้ต้องมี ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ประจําโรงงาน
13. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุง หรือหลอมโลหะ ซึ่งไม่ใช่อุตสาหกรรมเหล็ก หรือเหล็กกล้า ที่มีกําลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป
14. โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่มีกําลังการผลิตตั้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป
15. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการแยกหรือ แปรสภาพก๊าซธรรมชาติ ทุกขนาด
16. โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม ดังต่อไปนี้ 16.1 ระบบบําบัดน้ําเสียรวม ทุกขนาด 16.2 การเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตาม กฎหมายว่าด้วยโรงงานทุกขนาด 16.3 การปรับสภาพสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ ที่ไม่ใช้แล้ว ที่เป็นอันตราย ทุกขนาด
17. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือ ฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว 17.1 การคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ ที่ไม่ใช้แล้ว ที่เป็นอันตราย ทุกขนาด 17.2 การฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ทุกขนาด
18. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนํา ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสีย ที่เป็นอันตรายจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิต ทางอุตสาหกรรม ทุกขนาด
Comments