top of page

ภาวะผู้นำกับการเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ Leadership of a Modern Supervisor

#ภาวะผู้นำกับการเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ #ภาวะผู้นำ


ภาวะผู้นำกับการเป็นหัวหน้างานยุคใหม่

"หัวหน้างานยุคใหม่" หรือ ผู้นำสอนกันไม่ได้แต่เรียนรู้ได้ ด้วยความตั้งใจจริงสู่การปฏิบัติจริงนำพาผู้ตามให้ก้าวตามด้วยความสมัครใจ สุดยอดของผู้นำ คือ ผู้ใช้ คำว่า “ เรา ” เสมอ และสิ่งที่จะสร้างความแตกต่างของผู้นำที่จะสร้างการยอมรับ คือ การเข้าใจปัญหาและการตัดสินใจอย่างถูกต้องก่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานและองค์กร


การพัฒนาสมรรถนะ (Competency) ของหัวหน้างาน ในองค์กรธุรกิจชั้นนำขนาดใหญ่ กลั่นกรอง และถ่ายทอดผ่าน หลักสูตรฝึกอบรม ภาวะผู้นำกับการเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ ที่จะช่วยให้หัวหน้าในองค์กรของท่าน มีความรู้ความเข้าใจ ในบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเอง และมีความสามารถรอบด้านสำหรับหัวหน้างานยุคใหม่ ในการปฏิบัติงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จขององค์กร


คุณลักษณะที่ดีของภาวะผู้นำ

  1. มีจุดมุ่งหมาย และใช้ความยืดหยุ่น

  2. กล้ารับผิด และรับชอบ

  3. ซื่อสัตย์ สุจริต

  4. สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน

  5. การสื่อสารมีประสิทธิภาพ

  6. วุฒิภาวะทางอารมณ์มั่นคง


ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ

ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ ในองค์การของรัฐ ส่วนใหญ่จะเรียก "ผู้นำหรือผู้บริหาร" ส่วนองค์การธุรกิจ นิยมเรียก "ผู้จัดการ" (Management) ได้มีการศึกษ าลักษณะของ "ผู้นำ" (Leaders) และ "ผู้จัดการ" (Managers) มานานแล้ว และพบว่าบุคคล ทั้งสองกลุ่มนี้ มีความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น แรงจูงใจ ความเป็นมา วิธีคิด และ การปฏิบัติงาน ดังที่นักศึกษา วิจัย สรุปไว้ ดังต่อไปนี้ เบนนิส และนานัส (Bennis and Nanus, 1985 : 21) ได้สรุปว่า "ผู้จัดการ คือ บุคคล ที่ทำให้งานสำเร็จ ส่วนผู้นำคือ บุคคลที่ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูก managers are people who do things right and leaders are people who do the right things"

ผู้จัดการ

บุคคลที่สนใจจะหาวิธีการทำให้งานที่ได้รับมอบให้สำเร็จโดยไม่ได้ให้ความสนใจสิ่งอื่นใด


ผู้นำ

ผู้ที่จะต้องพิจารณา ความถูกต้องของงาน รวมทั้งผลกระทบ ต่อบุคลากร และองค์การ ก่อนที่จะดำเนินการให้เกิดผลดีที่สุด


ความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้

ความแตกต่างระหว่างผู้จัดการและผู้นำ มีดังนี้

  1. วิธีคิด

  2. ความเป็นมา

  3. แรงจูงใจ

  4. การปฏิบัติงาน


ตารางพฤติกรรมการบริหาร

ตารางการจัดการของ Blake และ Mouton หรือ mesh managerial เป็นรูปแบบ ความเป็นผู้นำ ที่ระบุระดับที่ผู้จัดการ หรือ ผู้นำมุ่งเน้นไปที่งาน หรือคนโดยมีการผสมผสาน ระหว่างสองด้าน ที่แตกต่างกันของทั้งสองด้าน ทำให้เกิดสไตล์ความเป็น ผู้นำ


การคาดการณ์ภาวะผู้นำสถานการณ์นักทฤษฎีการจัดการ Robert Blake และ Jane Mouton ได้ข้อสรุปในปี 1964 ว่าพฤติกรรมของผู้นำ นั้นมาจากเกณฑ์สองประการ คือการปฐมนิเทศ หรือความสนใจในคน และการปฐมนิเทศ หรือความสนใจในงาน หรือผลลัพธ์


การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)

การบริหารความขัดแย้ง คือ กระบวนการแก้ไข ข้อพิพาทที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพื่อลดผลลัพธ์เชิงลบ ที่อาจเกิดขึ้น และสร้างโอกาส สำหรับผลลัพธ์เชิงบวก มาแทนที่ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป โดยความขัดแย้งในองค์กร เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา และเป็นเรื่องที่ทุกหน่วยการต้องจัดการ การบริหารความขัดแย้ง จึงเกิดขึ้นมาเพื่อรับมือสถานการณ์นั้น ๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป


ผลลัพธ์ของความขัดแย้ง

ผลลัพธ์ของความขัดแย้งด้านบวก

  • เสริมสร้างความคิดริเริ่ม

  • เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ

  • ลดความเสี่ยงความล้มเหลวในองค์การ

  • สร้างความกระตือรือร้นในการทำงาน

ผลลัพธ์ของความขัดแย้งด้านลบ

  • ลดกำลังการผลิตของบุคลากร

  • เป็นสาเหตุความไม่พอใจของบุคลากร

  • เพิ่มความกดดันในองค์การ

  • ทำให้บุคลากรเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน

วิธีการแก้ไขความขัดแย้งที่เกี่ยวกับบุคคล

  1. การบังคับ (Force)

  2. การหลบหนี (Withdrawal หรือ Avoidance)

  3. การประนีประนอม (Compromise)

  4. การปรองดอง (Accommodation)

  5. การแก้ปัญหาหรือการร่วมมือกัน (Problem Solving)


บทบาทของผู้นำต่อปัญหา ความขัดแย้ง


  1. ให้ความสนใจ กับประเภทต่าง ๆ ของความขัดแย้ง

  2. การติดต่อสื่อสารที่ชัดเจนต่อเนื่อง

  3. การสร้างเป้าประสงค์ หรือค่านิยมร่วม

  4. พิจารณาธรรมชาติของความเป็นอิสระซึ่งกันและกัน

  5. ต้องพร้อมที่จะเสี่ยง

  6. แสดงความมีอำนาจ

  7. ความสมดุลถูกต้องในการจูงใจ

  8. การสร้างความเห็นอกเห็นใจ

ดู 2,903 ครั้ง

Comentários


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page