เทคนิคการสอนงานแบบ On the job training
เทคนิคการสอนงานแบบ On the job training
การฝึกอบรม เทคนิคการสอนงานแบบ On the job training เป็นวิธีการฝึกอบรมที่นิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะพนักงานที่เข้าใหม่หรือมีการแต่งตั้งโยกย้ายมาดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหม่ การฝึกอบรมโดยวิธีนี้จะประสบผลสำเร็จก็ต่อเมื่อ ผู้ฝึกอบรมมีโอกาสเรียนรู้ขั้นตอนของการปฏิบัติงานจากสภาพที่เป็นจริงมีผู้ฝึก (Trainer) หรือพี่เลี้ยง (Coach) คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีโอกาสลงมือปฏิบัติงานพร้อมการฝึกอีกด้วยผลสำเร็จของการฝึกอบรมจะมีมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ฝึกหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้มีหน้าที่โดยตรงในการฝึกสอนพนักงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจใน เทคนิคการสอนงานแบบ On the job training เพราะนอกจากจะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงานได้เป็นอย่างดี
สมรรถนะ/ ขีดความสามารถ (Competency)
สมรรถนะ/ ขีดความสามารถ (Competency) กล่าวได้ว่า หมายถึง ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และพฤติกรรม/ทัศนคติ (Attributes / Attitude) KSA ในความเป็นจริงแล้วความสามารถของมนุษย์โดยเฉพาะความสามารถซ่อนเร้น (Talent) มีอยู่อย่างมหาศาล เพียงแต่ว่า ยังไม่ได้ถูกนํามาใช้อย่างจริงจัง อาจจะเกิดจากหลายปัจจัย อาทิทัศนคติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ สอดคล้องกับทฤษฎีภูเขาน้ําแข็ง (Iceberg)
ความหมายของการสอนงาน
ความหมายของการสอนงาน การสอนงาน เทคนิคการสอนงานแบบ On the job training หมายถึง เป็นบทบาทหน้าที่ ของผู้บังคับบัญชา ที่จะพึ่งปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เกิดความเข้าใจงาน มีความชำนาญ และสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยหัวหน้างานจะต้องชี้แจงถึง วัตถุประสงค์ วิธีการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของงาน และองค์การ การสอนงานถือเป็นกระบวนการเรียนรู้งาน ของพนักงานงาน และช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดี ในการทำงานร่วมกัน
แนวความคิดเรื่องการฝึกอบรมในงาน
เทคนิคการสอนงานแบบ On the job training OJT หมายถึง กิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ ด้วยการให้ผู้รับการสอนงานมีประสบการณ์ตรง (Direct Experience) กับงานที่จะสอน
ทักษะการสอนที่สำคัญและจำเป็น
1. การบรรยาย (Lectures)
2. การใช้คำถาม (The question)
3. การสาธิต (Demonstration)
4. การฝึกปฏิบัติ (Practice)
5. การอภิปรายแบบกลุ่ม (Group Discuss)
6. การระดมความคิด (Brainstorming)
7. การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing)
8. การใช้เกม (Game)
9. กรณีศึกษา (Case Study)
10. สถานการณ์จำลอง (Simulation)
วิธีการสอนงาน
วิธีการสอนงาน 4 ขั้น ( Four Steps Method) โดยจัดลำดับขั้นไว้ ดังนี้
1. การตระเตรียม (Preparation)
2. การสอน (Presentation)
3. การให้ผู้รับการสอนฝึกปฏิบัติ (Practice)
4. การทดสอบและติดตามผล (Test and Follow)
ขั้นตอนการเตรียมการก่อนมีการสอนงานจริง
ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมการสอน เทคนิคการสอนงานแบบ On the job training โดยมีขั้นตอนการเตรียมการก่อนมีการสอนงานจริง ดังนี้
จัดทำรายละเอียดและกำหนดการฝึกสอน (Make a Timetable for Training)
จัดทำแบบซอยงาน (Break Down the Job)
จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และสิ่งต่างๆ ให้พร้อมก่อนการสอนงาน (Get Everything Ready)
จัดสถานที่ เงื่อนไข สภาพแวดล้อมให้พร้อม (Arrange the Worksite) เนื่องจากบ่อยครั้งเราต้องฝึกสอน ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริง ไม่ได้อยู่ในห้องอบรม
การวิเคราะห์งานเพื่อสอน
การวิเคราะห์งาน คือ การจัดแยกงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อสะดวกและง่ายต่อการปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้วิเคราะห์เข้าใจโครงสร้างของงาน ว่าประกอบด้วยภารกิจที่ต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง ภารกิจใดที่ต้องพัฒนาภารกิจใดเป็นหน้าที่ของพนักงานตำแหน่งใด ทำให้สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานได้สอดคล้องกับงานนั้น
หรือ การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย “ Job Safety Analysis” เป็นอีกเครื่องมือในการค้นหาอันตรายที่มีอยู่ในแต่ละขั้นตอนของการทํางานแล้วกําหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายโดยมีวิธีการศึกษาและบันทึกขั้นตอนของงานเพื่อ ค้นหาอันตรายที่แฝงอยู่ กําหนดแนวทางที่ดีที่สุดในการทํางานเพื่อลด ขจัด ป้องกันควบคุมอันตราย ที่ควบคุมมากขึ้น พนักงานมีทัศนคติที่ดีด้านความปลอดภัยและสามารถนําผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการวางแผนงานด้านความปลอดภัย และปรับปรุง วิธีการทํางานสภาพแวดล้อมในการทํางานน่าอยู่น่าทํางานและมีความปลอดภัยมากขึ้น
แผนการสอน (SESSION PLAN)/ใบเตรียมการสอน
แผนการสอน คือ เอกสารที่ครูฝึกจัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการสอน เทคนิคการสอนงานแบบ On the job training หัวข้อวิชาหรือบทเรียนนั้น ประกอบด้วย
1. หัวข้อวิชาหรือเรื่องที่จะสอน
2. เวลาทำการสอนหรือให้ปฏิบัติ
3. วัตถุประสงค์การสอน
4. อุปกรณ์ช่วยฝึก หรือวัสดุฝึกที่ต้องใช้
5. วิธีการสอน หรือขั้นตอนการสอน
6. การวัดผลและการประเมินผล
Comments